วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเตอร์เน็ต

จากปัญหาการล่อลวงอันเกิดจากการเล่นอินเทรอ์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยามยามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างติตสำนึกที่ต่อต่อทั้งตนเองและสังคม เพื่อหลีกเลีีี่่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน  ภู่วราวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือวไ้เสมือนเป็นแม่บทของการปฎิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้

           1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
           2.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่่น           3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต           4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร           5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ           6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต           7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์           8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน           9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน           10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบัน หรือสังคมนั้นๆ


อ้างอิง
หนังสือเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

IP address ต่างกับ Domain name อย่างไร

IP Address     เลขที่อยู่ไอพี หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร


ชื่อโดเมน (Domain Name)  ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม ( domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-"  คั่นด้วย "."  โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้


อ้างอิง

E-Marketing หมายถึงอะไร

E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งในรายละเอียดของการทำการตลาด E-Marketing จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้1. เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
2. เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
3. เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้อง การของตนเอง
4. มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
5. เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
6. สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
7. มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
8. มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
9. มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design), การพัฒนา (Development), การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) เป็น ต้น (ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วนในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก E-Marketing อย่างชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดย ใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดความแตกต่างกันระหว่าง E-Marketing, E-Business และ E-CommerceE-Marketing นั้นคือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือElectronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce  หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์”ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทาง คอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่•    การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
•    การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
•    การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)ในขณะที่ E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะหมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นที่การ “ขาย” เป็นหลักตัวอย่างเช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์, ทางโทรทัศน์, ทางวิทยุ, หรือแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยทำการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาในการทำธุรกรรมลงได้ ในบางครั้งมีการตีความหมายของคำว่า E-Commerce กับคำว่า E-Business เป็นคำเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคำว่า E-Commerce ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า E-Business โดยคำว่า E-Business จะเป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าคำว่า E-Commerce นั่นเองประโยชน์ของ E-Marketingนักการตลาดชื่อ Smith and Chaffey (Smith, P.R. and Chaffey, D. 2001 eMarketing eXcellence: at the heart of eBusiness. Butterworth Heinemann, Oxford, UK) ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุนการทำ การตลาดและก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมองว่า E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความ สำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้ดังนี้1. การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย2. การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่อง จากความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึง ข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ สายการบินต้นทุนต่ำ easyJet (http://www.easyjet.com) มีส่วนสนับสนุนทำให้มีรายได้จากการผ่านออนไลน์กว่า 90%3. การตอบสนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของลูกค้านั้นอาจจะมาจาก การใช้งานง่าย การสนับสนุนการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น
นอกจากนี้ Smith and Chaffey ยังได้กล่าวถึง 5Ss’ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ได้แก่การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจำ (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการเราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยการบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น)การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามาก ยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบ ประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิมการประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้นการทำ E-Marketing ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ธุรกิจในหลายๆ ประการ ทั้งในแง่ของกลุ่มผู้ประกอบการ เจ้าของสินค้า และในแง่ของกลุ่มลูกค้า ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และด้วยต้นทุนที่ต่ำ 
หลักการของ E-Marketingการตลาดยุค E เน้นการใช้ Mass Customization มากกว่า Mass Marketing เพราะลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์เลือกเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อหาสินค้าที่ตนเองต้องการ เพราะฉะนั้น เราต้องเน้นระบบที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก ทั้งนี้เราจักต้องสร้าง ระบบโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นมาตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยให้แต่ละคนสามารถเลือก ทางเลือกที่สนองความต้องการได้ด้วยตนเองการแบ่งส่วนตลาดต้องเป็นแบบ Micro Segmentation หรือ One-to-One Segmentation หมายถึง หนึ่งส่วนตลาดคือ ลูกค้าหนึ่งคน เพราะในตลาดบนเว็บถือว่าลูกค้า เป็นใหญ่ เนื่องจากมีสิทธิ์ที่เลือกซื้อสินค้าใครก็ได้ ยกเว้นแต่เราเป็นเพียงรายเดียวที่มีอยู่ใน ตลาด ฉะนั้นการพิจารณาข้อมูลความต้องการ หรือพฤติกรรมของลูกค้าทุกคน โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลที่ตรวจจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย ได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก หรือในแง่ของการจัดการแล้วเราเรียกว่า CRM หรือ Customer Relationship Management นั่นเอง เพราะนี่จะทำให้เราทราบว่า ใครคือลูกค้าประจำการวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ต้องเป็นไปตามความต้องการแต่ละบุคคล หรือMigrationing การ วางตำแหน่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้นั้น ต้องวางตามความต้องการของแต่ละบุคคล และหากความต้องการนั้นเปลี่ยนไป ระบบก็ต้องเคลื่อนตำแหน่งของการวางนั้นไปสนองตอบต่อความต้องการใหม่ด้วยให้เราเป็นหนึ่งในเว็บที่ลูกค้าจำได้ การ สร้างความจดจำเพื่อให้จำเว็บไซต์เราการจดชื่อโดเมนที่ทำให้จดจำง่าย หรือมีความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจักต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมายโดยตลอดต้องปรับที่ตัวสินค้าและราคาเป็นหลัก สินค้าถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเทียบกับคุณค่าของสินค้า และคู่แข่งเสมอว่า ใครสนองตอบต่อความต้องการได้ดีกว่ากันต้องให้ลูกค้าตกแต่งสินค้าตามความต้องการได้โดยอัตโนมัติ (Customization & Personalization) วิธี ที่ให้ลูกค้าได้รับ คุณค่า หรือสนองความต้องการได้ดีที่สุด ก็คือ การให้ลูกค้าได้เลือกหรือตกแต่งสินค้าเอง รวมทั้งการคำนวณราคาด้วย ฉะนั้น การให้ Options ให้ลูกค้าได้เลือกมาก



อ้างอิง
http://webindex.onlineoops.com/394582/73746-e-marketing-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
http://www.google.com/imgres?hl=th&biw=1366&bih=631&tbm=isch&tbnid=xRYrgagB-UW-0M:&imgrefurl=http://www.forwardforbusiness.com/2012/06/junes-newsletter-e-marketing-the-e-asy-way/&docid=misgccVXkOzu4M&imgurl=http://www.forwardforbusiness.com/wp-content/uploads/2012/06/e-marketing1.jpg&w=900&h=675&ei=kof6T_j_CIXtrAfGws3cBg&zoom=1&iact=rc&dur=390&sig=112555190101809441232&page=1&tbnh=138&tbnw=190&start=0&ndsp=21&ved=1t:429,r:4,s:0,i:81&tx=87&ty=64

ISP หมายถึงอะไร

ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คืออะไร ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งบางครั้งเรียก ISPs ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน-ผู้เขียน) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย งานหลักของ ISP ISP : Internet Service Provider คือ บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก รวมถึงค่าบริการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง โดยหลักการพิจารณา ISP นั้น เราต้องดูว่า ISP มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด หน้าที่โดยทั่วไปของ ISP ก็อย่างที่บอกแต่แรกว่าคำว่า ISP มีหลายความหมาย หลายบทบาท ซึ่งแต่ละบทบาทนั้นความรับผิดก็จะแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เนตโดยจะรวมไปถึงบริการ Webhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บด้วย หน้าที่หลักๆของ ISP ก็คือ การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต การดูแล Website การตรวจสอบข้อมูลที่จะผ่านออกไปลงในเว็บ ผู้ให้บริการ ISP มี 18 แห่งคือ 1.บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด 4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด 5. บริษัท เอเน็ต จำกัด 6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด 8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด 9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด 10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด 11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด 12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด 15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด 17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด 18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)

อ้างอิง
http://ispinternet.blogspot.com/
http://www.google.com/imgres?hl=th&biw=1366&bih=667&tbm=isch&tbnid=9SuEp_PeUTTSZM:&imgrefurl=http://en.wikipedia.org/wiki/Internet_service_provider&docid=ekWjLtS53-HTMM&imgurl=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/36/Internet_Connectivity_Distribution_%252526_Core.svg/440px-Internet_Connectivity_Distribution_%252526_Core.svg.png&w=440&h=257&ei=BYf6T87FLoXWrQei34TPBg&zoom=1&iact=hc&vpx=104&vpy=197&dur=3720&hovh=171&hovw=294&tx=160&ty=114&sig=112555190101809441232&page=1&tbnh=106&tbnw=181&start=0&ndsp=18&ved=1t:429,r:0,s:0,i:71

blog ย่อมาจากคําว่าอะไร


บล็อก (อังกฤษblog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษweblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

อ้างอิง

E-mail ย่อมาจากคำว่าอะไี หมายถึงอะไร


  
bullet_star.gifไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
         บริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วคือ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

bullet_star.gifความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
          E-mail ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง

bullet_star.gifจุดเด่นของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
          จุดเด่นที่ทำให้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายด้วยกระดาษธรรมดาหรือไปรษณีย์ธรรมดา ๆ แล้ว การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนจะยุ่งยากและมีวิธีการใช้สลับซับซ้อนกว่า แต่ถ้าหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใด โดยเฉพาะในปัจจุบัน โปรแกรมที่ใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน และที่สำคัญ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มีจุดเด่นกว่าไปรษณีย์ธรรมดาหลายประการ ดังนี้
  1. ความรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วมาก เช่น เราสามารถส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไทยไปยังผู้รับที่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใน 1-5 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าส่งไปรษณีย์ด่วน EMS อย่างเร็วที่สุดต้องใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยกับความเร็บของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
  2. ความประหยัด ค่าใช้จ่ายในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจดหมายธรรมดา ปกติถ้าเราส่งจดหมายธรรมดาต้องซื้อซอง ซื้อกระดาษ ซื้อแสตมป์ ค่าลงทะเบียนจดหมายด่วน EMS ยิ่งถ้าส่งไปต่างประเทศก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และถ้าส่งเดือนละหลายฉบับ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ค่าใช้จ่ายไม่แพง มีเพียงค่าโทรศัพท์และค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่เราใช้กันอยู่เท่านั้น
  3. ไม่จำกัดระยะทาง ระยะทางเป็นข้อจำกัดสำคัญในการติดต่อสื่อสารกัน เราไม่ต้องเดินไปที่ที่ทำการไปรษณีย์หรือตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งจดหมาย เราสามารถนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน พิมพ์และส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย

bullet_star.gifที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail Address)
         ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน
         ส่วนประกอบของที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  1. ส่วนที่ 1 คือ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อองค์กร หรือชื่ออะไรก็ได้ ตามตัวอย่างคือ thaigoodview
  2. ส่วนที่ 2 คือ เครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า แอท
  3. ส่วนที่ 3 คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุด ตามตัวอย่างคือ  hotmail.com

bullet_star.gifSmileys  และ Abbreviations 
  • Smileys         การที่เราพูดคุยกับคนทั่วไป เราจะแสดงสีหน้าและความรู้สึกให้คู่สนทนารับทราบได้ ในการใช้อินเทอร์เน็ต เราสามารถเขียนด้วย Smileys หรือ Emotions ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการพิมพ์ตัวอักษรจากคีย์บอร์ด ดังตัวอย่าง 
:-)
ยิ้ม (happy)
:-e
ไม่สมหวัง (disappointed)
:-(
เสียใจ (sad)
>:-<
โกรธ (angry)
:-o
ประหลาดใจ (surprised)
:-D
หัวเราะ (laughing)
:-@
หวีดร้อง (screaming)
;-)
ขยิบตาให้ (wink)
:-/
ไม่ใส่ใจ (indiffent)
;-(
ร้องไห้ (cry)

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

HTML ย่อมาจากคำว่าอะไร หมายถึงอะไร

HTML คืออะไร
     HTML ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจ

ใช้อะไรในการเขียน HTML
     การสร้างไฟล์   HTML  เราสามารถสร้างจาก Text  Editor เช่นจาก Notepad หรือ  Wordpad ก็ได้แต่สำหรับการ Save ไฟล์ เราจำเป็นต้องใส่  " ชื่อไฟล์ . html "   ซึ่งถ้าหากคุณไม่ใส่  " " จะ กลายเป็นไฟล์   .TXT แทน  ในปัจจุบัน มีโปรแกรมต่าง ๆ มากมายที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหารเขียนโค้ด html เช่นโปรแกรม Macromedia Dreamweaver ปัจจุบันเวอร์ชั่น CS4 แล้ว มีความง่ายและสะดวกในการสร้าง html ขึ้นมา ด้วย Tool ต่าง ๆ ของโปรแกรมครับ

โครงสร้างพื้นฐาน HTML

        โครงสร้าง HTML ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ
                1. ส่วนหัว ( Head )
                2. ส่วนเนื้อหา ( Body )
        โดย CODE จะเป็นแบบนี้ครับ

1.<HTML>
2.<HEAD>
3.</HEAD>
4.<BODY>
5.</BODY>
6.</HTML>
คำสั่งหมายเหตุ !
     รูปแบบคำสั่ง <!.........>
            ในการเขียนโปรแกรมเราควรมีหมายเหตุ( Comment ) เอาไว้ กันความหลงลืมของเนื้อหาที่เราเขียนไว้ได้    ซึ่งข้อความที่อยู่ระหว่าง <!.และ..> ที่เราหมายเหตุไว้จะไม่มีการนำไปแสดงบนจอภาพแต่อย่างใด

คำสั่งเริ่มต้น

     รูปแบบคำสั่ง   <HTML>........</HTML>  คำสั่ง   <HTML> ซี่งจะถือเป็นคำสั่งเริ่มต้นของการเขียน HTML และคำสั่ง </HTML> จะเป็นส่วนของการจบ

การเขียน HTML
       รูปแบบคำสั่ง <HEAD>..........</HEAD>  คำสั่ง <HEAD> เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดข้อความส่วนที่เป็นชื่อเรื่องซึ่งภายใต้ของคำสั่งนี้จะมีคำสั่งย่อย  อีกคำสั่งหนึ่งคือ คำสั่ง <TITLE>........</TITLE>   

รูปแบบคำสั่ง <TITLE>.........</TITLE>
     คำสั่ง <TITLE>.....</TITLE> จะเป็นส่วนของการแสดงชื่อของเอกสาร จะปรากฎในขณะที่ไฟล์ HTML ทำงานการแสดงผลจะแสดงในส่วนของไตเติลบาร์ ( Title Bar )

การกำหนดสีของพื้นหลัง
     การกำหนดสีจะมีการกำหนดให้มี แอตทริบริต์ BGCOLOR= # สีที่ต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ <BODY> เช่น 

1.<body bgcolor="#0099FF">
หรืออาจจะใช้ css ช่วยก็ได้ครับ โดยมี Code ดังนี้
1.<style type="text/css">
2.<!--
3.body {
4.background-color#0099FF;
5.}
6.-->
7.</style>
ส่วน CODE สีสามารถหาได้ตามเว็บทั่วไปครับ

ขนาดตัวอักษร

     การกำหนดขนาดตัวอักษรคำสั่งที่ใช้ <FONT SIZE = VALUE >.......</FONT>    การกำหนดขนาดตัวอักษรโดยทั่วไปมีด้วยกัน 7 ขนาดซึ่งตั้งแต่ -7 จนถึง +7 หรือจะกำหนดเป็น px ก็ได้ครับ

รูปแบบตัวอักษร
     การกำหนดตัวอักษรให้เป็น ตัวหนา  คำสั่งที่ใช้ <B>........</B>
    การกำหนดตัวอักษรให้เป็น   ตัวเอน  คำสั่งที่ใช้ <U>.........</U>
    การกำหนดตัวอักษรให้เป็น   ตัวขีดเส้นใต้ คำสั่งที่ใช้ <L>.........</L>
1.<HTML>
2.<HEAD><TITLE> รูปแบบตัวอักษร </TITLE > </HEAD>
3.<BODY>
4.<B>   รูปแบบตัวอักษร ตัวหนา </B>
5.<U>   รูปแบบตัวอักษร ตัวเอน </U>
6.<L>   รูปแบบตัวอักษร ตัวขีดเส้นใต้ </L>
7.</BODY>
8.</HTML>
ตัวอักษรพิเศษ
     ตัวอักษรแบบพิเศษไม่ได้หมายถึงตัวอักษรที่ไม่มีบนแป้นพิมพ์แต่หมายถึงตัวอักษร ที่ไปตรงกับตัวกำหนดคำสั่ง เช่น <, >,",& เป็นต้น

                  ตัวอักษรพิเศษ                     แทนด้วย
                         <                                 &lt ;
                         >                                 &gt ;
                         &                                &amp ;
                         "                                 &quot ;  
คำสั่งแสดงภาพ
     รูปแบบคำสั่ง <IMG SRC= "ไฟส์รูปภาพ" > ไฟล์รูปภาพส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ชนิด   .GIF .JPG เพราะเว็ปเบราเซอร์ส่วนใหญ่สนับสนุนไฟล์ 2 ชนิดนี้

รูปแบบคำสั่ง <ALT="บอกรายละเอียด">
     คำสั่ง ALT จะเขียนต่อจากการแสดงภาพซึ่งเราเขียนคำสั่ง ALT ต่อจากคำสั่งการแสดงภาพ โดยคำสั่งนี้  จะแสดงบอกรายละเอียดเมื่อเรานำเมาส์ไปชี้ที่ภาพ        

รูปแบบคำสั่ง BORDER = N  คำสั่ง BORDER   จะเป็นการกำหนดเส้นกรอบของภาพที่แสดงซึ่ง N = 0 จะไม่มีการแสดงเส้นกรอบ ของภาพและหากมีการกำหนด N มากขึ้นความหนาของกรอบรูปก็จะมากขึ้นตาม
1.<BODY>
2.<IMG SRC="test1.jpg" > เมื่อไม่มีการใช้คำสั่ง   ALT
3.<IMG SRC="test1.jpg" ALT="ทดสอบการแสดงภาพ">
4.</BODY>
การใช้ภาพเป็นตัวเชื่อมโยง
     รูปแบบคำสั่ง <A HREF = "ชื่อไฟล์.HTML">  เช่นเราต้องการ Link ภาพ  Button.jpg   ไปยังหน้าแรกของการสร้างโฮมเพจโดย HTMLเราจะเขียนคำสั่งดังนี้
1.<BODY>
2.<A HREF="index.html" >
3.<IMG SRC"test1.jpg"  ALT="ทดสอบการ Link" </A>
4.</BODY>
การทำตัวหนังสือให้เป็นลิ้งได้
     การทำตัวหนังสือให้เป็นลิ้งได้ จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตัวหนังสือไปยังอีกหน้าหนึ่่ง หรืออาจจะเป็นหน้าเดิมก็ได้ มีคำสั่งดังนี้
1.<a href="index.html">ทดสอบระบบ</a> // เชื่อมไปยังหน้า index.html
2.<a href="mailto:admin@xvlnw.com">ส่งเมลล์</a> // ลิ้งเพื่อส่งเมลล์
3.<a href="#">ทดสอบลิ้ง</a> // เป็นลิ้งที่ไม่ได้เชื่อมต่อไปที่ใด
คำสั่งสร้างตาราง
    ในการสร้างเว็บไซต์ต้องมีการสร้างตารางมาครอบไว้ เพื่อให้การแสดงผลดุดีนั่นเอง โดยคำสั่งในการสร้างตารางมีดังนี้
1.<table width="500" border="0">
2.<tr>
3.<td>&nbsp;</td>
4.</tr>
5.</table>
บันทัดแรก คือคำสั่งเริ่มต้นการสร้างตาราง มีการกำหนดขนาดของตารางเป็น 500px และกรอบของตาราง ( border = 0) เป็น 0 คือไม่แสดง
บันทัดที่ 2 เป็นคำสั่งเริ่มต้นสร้างแถวในตาราง 
บันทัดที่ 3 เป็นคำสั่งเริ่มต้นสร้างคอลัมน์ในตาราง โดยจะมีกี่คอลัมก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของผุ้สร้าง
บันทัดที่ 4 เป็นบันทัดจบคำสั่งการสร้างแถวในตาราง
บันทัดที่ 5 เป็นการจบคำสั่งการสร้างตาราง

ถ้าต้องการ 2 คอลัมน์ก็ทำได้ดังนี้
1.<table width="500" border="0">
2.<tr>
3.<td>&nbsp;</td> // คอลัมน์ 1
4.<td>&nbsp;</td> // คอลัมน์ 2
5.</tr>
6.</table>
ถ้าต้องการ 2 แถว 2 คอลัมน์ สร้างดังนี้
01.<table width="500" border="0">
02.<tr> // แถว 1
03.<td>&nbsp;</td> // คอลัมน์ 1
04.<td>&nbsp;</td> // คอลัมน์ 2
05.</tr>
06.<tr>// แถว 2
07.<td>&nbsp;</td> // คอลัมน์ 1
08.<td>&nbsp;</td> // คอลัมน์ 2
09.</tr>
10.</table>
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับความรู้พื้นฐาน HTML สำหรับการเขียนเว็บไซต์ครับ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะมาแก้ไขให้ครับ 



อ้างอิง


http://www.xvlnw.com/knowledge-readknowledge-id40.html