วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์



2.ความถูกต้องของข้อมูลสามารถ จะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนถ้าเกิดความผิดพลาดจะมีการรรับรเละเเก้ไขใหม่1.ความสะดวกในการเก็บข้อมูลสามารถเก็บไว้ได้มากเเละปลอดภัยสามารถส่งข้อมูลได้ถึง200หน้า
3.ความเร็วของการทำงาน สัญญานไฟฟ้าจะเร็วเท่าความเร็วเเสงจึงทำให้การส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกีกโลกหนึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
4.ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เพื่อส่งข้อมูลราคาต้นทุนจึงไม่สูงนัก เมื่อเทยบกับการส่งวิธีอื่น
5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง สามารถมีข้อมูลที่ส่วนกลางเพียงชุดเดียว เวลาเกิดการเปลี่ยนเเปลงสามารถเปลี่ยนเเปลงที่ส่วนกลาง
6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครื่อข่ายนั้นจะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์เดียวกันได้ จึงทำให้ประหยัดทั้งงบประมาณ เเละทรัพยากร
7.การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้ประโยขน์ของระบบเเผนกเดียวกันได้เป็นอย่างดี  เช่น สามารถร่วมเเก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามเเผนงาน

อ้างอิง หนังสือเรียนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์


               การสื่อสารข้อมูลจะต้องใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้  เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสายและเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
             1 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสาย การสื่อสารข้อมูลทางสายเป็นการติดต่อสื่อสารผ่านสายต่างๆ เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  6  ประการ  คือ
                1) เทคโนโลยีโมเด็ม  คำว่า  โมเด็ม  (Modem)  หมายถึง  การแปลง  และการแปลงกลับ  โมเด็มจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอะนาล็อก  และแปลงสัญญาณอะนาล็อกกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
                2) เทคโนโลยีไอเอสดีเอ็น  เป็นเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็ม  ใช้ระบบดิจิตอลตลอดเส้นทางการสื่อสาร  บริการด้วยความเร็วสามระดับ  คือ
                1. ความเร็ว 64-128  กิโลบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับใช้ตามบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก
                2. ความเร็ว  2  เมกะบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความเร็วสูง
                3. บริการบรอดแบรนด์ความเร็วตั้งแต่  2  เมกะบิตขึ้นไป  ใช้กับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
                3) เทคโนโลยีดีเอสแอล  เป็นเทคโนโลยีท่อยู่ในกลุ่ม  xDSL  เช่น  ADSL,  HDSL  ลักษณะเด่นนี้คือ  สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง  ความเร็วสูง  เวลาใช้อินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะชุมสายดีเอสแอลจะมี สลิตเตอร์ (slitter)  ทำหน้าที่แยกสัญญาณ ระหว่างสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ดีเอสแอล
                4)  เทคโนโลยีความเร็วสูงเอสดีเอช  ใช้ใยแก้วนำแสงเป็นระบบสื่อสัญญาณ  ความเร็วขั้นต่ำ  155  เมกะบิตต่อวินาที  ความเร็วสูงสุดมากถึง  2.  กิกะไบต์ต่อวินาที  มีข้อจำกัดที่ต้นทุนสูงมาก  การดูแลรักษายาก  ประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้เฉพาะเส้นทางหลักของโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
                5) เทคโนโลยีเคเบิลโมเด็ม  (cable  modem)  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้บริการเคเบิลทีวี  โดยใช้ใยแก้วนำแสงและสายเคเบิลต่อเชื่อมมายังผู้ใช้  และใช้เคเบิลโมเด็มต่อมายังคอมพิวเตอร์
                6) คู่สายเช่า-วงจรเช่า (leased  line)  หมายถึง  สายโทรศัพท์หรือวงจรที่ให้เช่าเพื่อใช้งานด้านการรับส่งข้อมูล  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่หลายๆ แห่ง

             2 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมมาก  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
                1) เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียง  (voice)  และข้อความ (content)  โทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันที่นิยมคือระบบ  GSM  ย่อมาจาก  Global  System  for  Mobile  ให้ความเร็วไม่เกิน  9600  บิตต่อวินาที ระบบจีพีอาร์เอส  (General  Packet  Radio  Service-GPRS)  และระบบเอ็ดจ  (Enhanced  rates  for  GSM  Evolution-EDGE) ให้ความเร็ว 32  กิโลบิตต่อวินาที

                2) เทคโนโลยีดาวเทียมระบบดีบีเอส  ย่อมาจากคำว่า  Direct  Broadcast  Satellite  (DBS) เป็นระบบที่แพร่สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยความถี่สูงย่านไมโครเวฟไปยังสมาชิกโดยตรง  โดยใช้จานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  60  ซม.เป็นตัวรับสัญญาณ

2. สื่อสัญญาณ
                สื่อสัญญาณ  หมายถึง  อุปกรณ์ในโรงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง  แบ่งออกเป็น  2 ประเภทตามลักษณะของการสื่อสาร  คือ
            1 สื่อสัญญาณทางสาย  แบ่งออกเป็น  3  แบบ  คือ
                1) สายบิตเกลียวคู่  (twisted-pair  line เป็นสายทองแดงลักษณะบิตเกลียวทำด้วยทองแดงใช้ได้นานและราคาไม่แพง  นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ตามบ้านทั่วไป  ความเร็วสูงสุด  128  เมกะบิตต่อวินาที
                2)  สายโคเอเชียน  (coaxial  cable)  เป็นสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม  และมีสายชิลต์ที่เป็นโลหะป้องกันสัญญาณรบกวนและมีฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้น  นิยมส่งสัญญาณโทรทัศน์  ความเร็วสูงสุด  200  เมกะบิตต่อวินาที
                3)  สายใยแก้วนำแสง  (Fiber-optic)  เป็นสายใยแก้วหรือพลาสติกบาง ๆ ขนาดเท่าเส้นผมหลายคู่รวมกัน  สัญญาณจึงไม่ถูกรบกวน  จึงรับส่งข้อมูลได้แม่นยำ  ส่งข้อมูลได้มากถึง  2  กิกะบิตต่อวินาที
            2 สื่อสัญญาณไร้สาย    แบ่งเป็น  5  ประเภท  คือ
                1)  อินฟาเรด  (infrared)  ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  รับส่งข้อมูลได้  1-4  เมกะบิตต่อวินาที  ในระยะทางสั้นๆ  2-3 เมตร
                2) คลื่นวิทยุ  (radio  wave)  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ  สามารถเดินทางไปในอากาศได้ไกลๆ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เช่น  คลื่นวิทยุเอเอ็ม  เอฟเอ็ม  และอื่นๆ
                3) คลื่นไมโครเวฟ (radio  microwave)  เป็นคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงเรียกว่า  ย่านไมโครเวฟ  เดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่สามารถผ่าสิ่งกีดขวางได้  การรับส่งสัญญาณต้องใช้จานรับสัญญาณไมโครเวฟ  รัศมีการรับส่งประมาณ  50  กม. หากต้องการส่งไกลๆ จะต้องใช้สถานีทวนสัญญาณส่งเป็นทอดๆ
                4) ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม  (Satellize) ใช้ย่านความถี่เดียวกับไมโครเวฟ  โดยส่งสัญญาณจากสถานีส่งขึ้นไปยังดาวเทียมบน
     
อ้างอิงhttp://www.kroobannok.com/blog/5749 
หนังสือเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         การสือสารโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เเละอุปกรณ์การสื่อสารอื่นๆ ซึ่งไมาสามารถเชื่อมต่อโดยตรงได้ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณืเเละมาตราฐานในการสื่อสาร

1.โพรโทคอล(protocol) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
1.1โพรโทคอลเอชทีพี(Hyper Text Transfer Protocol:HTTP)เป็นโพรโตคอลหลักการในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็ป โดยทฃมีจุดประสงคืเพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยเเพร่เเละเเลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มเเอล
 
2.โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี(Transfer Control Protocol/Tnternet Protocol:TCP)เป้นโพรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต โดยจะระบุผู้รับผู้ส่ง เเละถ้าเกิดการผิดพลาดก็จะส่งการร้องขอข้อมูลใหม่
 
3.โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี(Simple Mail Transfer Protocol:SMTP)คือโพรโทคอลสำรับส่งอีเมล์
(e-mail)
4.บลูทูท(bluetooth)โพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุ2.4GHzในการรับข้อมูลคล้ายกับระบบเเลนไร้สาย
 
5.อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.1เครื่องทวนสัญญาน

5.2ฮับ

5.3บริดจ์

5.4อุปกรณ์จัดเส้นทาง

5.5สวิตซ์
   

อ้างอิงหนังสือเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2
http://www.google.co.th/imgres?start=66&num=10&um=1&hl=th&biw=1366&bih=667&tbm=isch&tbnid=yLv94a1EsFgpRM:&imgrefurl=http://archive.unlimitpc.com/modules.php%3Fname%3DUPC_Content%26pa%3Dshowpage%26pid%3D320%26page%3D1&docid=xvJRgUMk31wKCM&imgurl=http://archive.unlimitpc.com/test/EnermaxEPS/picture/Pic5.jpg&w=450&h=337&ei=KAjoT9f2CcvOrQfL9IWCCQ&zoom=1&iact=rc&dur=346&sig=106394070443953748275&page=4&tbnh=146&tbnw=189&ndsp=24&ved=1t:429,r:0,s:66,i:159&tx=101&ty=55









ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. เครือข่ายส่วนบุคคล
    เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Parsonal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใ้ช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับมือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น
2. เครือข่ายเฉพาะที่
   เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียนกันเข้าไส้ด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรที่มรระยะไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรเครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการสร้างเองได้โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือมนพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่าห้องหรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมาหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวนลดเร็ว และยังสามรถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย
3. เครือข่ายนครหลวง
      เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อย่ห่างกัน เช่นระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร ระบบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเชียล หรืออาจใช้เคลื่นไมโครเวฟ
4.เครือข่ายวงกว้าง
     เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Netweork : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังกวัด ระหว่างประเทศเป็นต้น
 

อ้างอิง หนังสือเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร ม.2

ความหมายและพัฒนาการของการสื่ออารข้อมูล

1.ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
      การสื่อสาร (communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งส่วนข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้จะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หนือ 1 ต่อเนื่งกันไป ซึ่งเป็นค่าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
       ดังนั้น การสื่อสารข้อมูล (data communication) จึหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั่งแต่สองเครื่องขึ้นไปเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดด่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
        การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีที่ไม่ซับซ้อนมาก เช่น การใช้ม้าเร็ว ใช้นกพิราบสื่อสาร เป็นต้น แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิต เครื่องมือและอุปกรในการสื่อสารก็ได้รับการพุฒนาให้ทันสมัยก้าวหน้าควบคู้มาโดยตลอด เพื่อความสะดวกในการสื่อสาร มีการใช้โทรเลข  โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ ดาวเทียม ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) ระบบ 3G และ 4G ตามลำดับ การสื่อสารที่สามรถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินเสียงและได้เห็นภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นพัฒาการทางด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเองโดยสามารถสรุปพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามลำดับ

อ้างอิง หนังสื่อเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

เทคโนโรยีไร้สายในยุคต่างๆ

ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของกราพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเครื่องเซลลูลาร์ยังมรขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย



ยุค 2G   เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลล์ไซต์ (cell site) และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobile Communication)  ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศํพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่าย (roaming)

ยุค 3G ใช้บริการมัลมิเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มทีช่องสัญญาณความถี่ วามจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามรถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า (video telephony) และการประทุมทางไกลผ่านวิดิโอ (video conference) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมวิดิโอหรือโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด และสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roming) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM
 

ยุค 4G ใช้บริการมัลมิเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิตต่อวินาที สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three – dimensionl : 3D) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลมิเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเตอร์เน็ตไร้สาย เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น

อ้างอิง หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บรอดแบนด์

บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber Line : ADSL ) ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงมากกว่า 2.0  เมกะบิตต่อวินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด็นั่นเอง


อ้างอิง
หนังสือเทคโนโรยีสารสนเทศและการสื่อสาร