วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

การดูแลรักษา อายุการใช้งานของอุปกรณ์/ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์


1.ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
โดยปกติซีพียูเป็นอุปกรณ์/ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมากจากการใช้งานปกติ ซึ่งซีพียูอาจจะทำงานได้นานมากจนเราเลิกใช้เครื่องไปเลย แต่ถ้าเราโชคร้ายโดยถูกผู้ผลิตนำซีพียูทีมีความเร็วต่ำมาหลอกขายว่าเป็นซีพียูความเร
็วสูง (CPU Remark) หรือทำการ PUSH ให้ซีพียูทำงานเร็วกว่าความเร็วที่กำหนดให้ ทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลงกว่าปกติ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการใช้งานซีพียูสั้นลงก็คือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานที่ความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถทำการซ่อมหรือแก้ไขได้

2.เมนบอร์ด (Mainboard or Motherboard)
เป็นอุปกรณ์ที่มี Chip ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งตัวรับและจ่ายไฟให้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS) ก็จะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ และไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เกิดไฟตกไฟกระชากอีกด้วย

3.จอภาพ (Monitor)
จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีอายุการใช้งานประมาณส่วนใหญ่ ประมาณ 1-3 ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นยี่ห้อนั้น จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตาม แต่ละบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป และไม่ควรเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารอย่างอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอภาพนั้นๆ

4.การ์ดแสดงผล (Display Card)
โดยทั่วไปการใช้งานในช่วง 1 ปีแรก มักจะไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้งานไปได้ถึง 3 ปี โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเราเลือกใช้การ์ดแสดงผลราคาถูก ก็อาจจะมีปัญหาบ้างในปีแรก แต่ก็ไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลยี่ห้อดังๆ จากอเมริกาที่มีราคาแพง จะมีความเร็วในการแสดงผลสูง มีลูกเล่นมากกว่า และมีการออกไดรเวอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

5.เมาส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเม้าส์ จะประกอบไปด้วยลูกกลิ้งและฟันเฟือง ซึ่งสามารถถอดออกมาและทำความสะอาด เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ไว้ภายในเม้าส ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ

6.แป้นพิมพ์ (Keyboard)

การป้อนข้อมูลจำนวนมากทุกวัน หรือเอาแป้นพิมพ์ไปใช้เล่นเกมส์ จะพบว่าปุ่มบางปุ่มจะเสียตั้งแต่ยังไม่ครบปี อายุการใช้งานของแป้นพิมพ์จะผ่านปีแรกและปีที่สองไปได้ อย่างสบาย แต่ถ้าแป้นพิมพ์เกิดเสียหลังจากปีแรก ซึ่งเลยระยะรับประกันแล้ว ไม่ควรซ่อม ให้ซื้อใหม่จะดีกว่า นอกจากนี้ยังมีแป้นพิมพ์ที่มีราคาแพงเกินหนึ่งพันบาทขึ้นไป เช่น ไมโครซอฟต์คีย์บอร์ด หรือคีย์บอร์ดของไอบีเอ็ม แป้นพิมพ์เหล่านี้จะมีรูปทรงถูกสุขลักษณะ ไม่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยข้อมือ มีความทนทานสูงและตอบสนองต่อการกดแป้นพิมพ์จะดีกว่าแป้นพิมพ์ราคาถูก

7.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำสำรอง หรือสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกที่มีความจุสูง ฮาร์ดดิสก์จะถูก
บรรจุอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่แล้ว ฮาร์ดดิสก์ในสมัยเริ่มแรกมีความจุเพียง 20-80เมกะไบต์ และต่อมาฮาร์ดดิสก์ได้พัฒนาให้มีความจุสูงขึ้น และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดมีความจุมากกว่า 1 กิกะไบต์ทั้งสิ้น และมักจะมีอายุการประกันตั้งแต่ 1-3 ปี ซึ่งเมื่อฮาร์ดดิสก์เสียในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ต้องส่งไปซ่อมกับร้านที่ซื้อมา โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์จะมีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ก็อาจจะเสียได้ตลอดเวลา ดังนั้น เราควรสำรองข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเวลาที่ฮาร์ดิสก์เสีย ข้อมูลก็จะยังไม่สูญหายไป ข้อควรระวังก็คือ ในเรื่องของไฟตกไฟชากซึ่งจะมีผลต่อ Harddisk อาจทำให้เกิดความเสียหายได้

8.ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)

ดิสก์ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปีดิสก์ ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิด
แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว การใช้งานดิสก์ไดร์ฟโดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก ถ้าผ่านปีแรกไปได้แล้วก็มักจะผ่านไปถึงปีที่ 3 ถ้าหากว่าดิสก์ไดร์ฟเสียในช่วงปีแรกก็สามารถส่งซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเสียหลังจากปีแรกแล้ว ก็ควรที่จะซื้อเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าซ่อมจะไม่คุ้มค่า เพราะราคาดิสก์ไดร็ฟในปัจจุบันมีราคาถูกมาก

9.พัดลมระบายความร้อน
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบภายในประเทศ มักจะใช้พัดลมระบายความร้อนที่มีราคาถูก และจะ
พบว่าส่วนใหญ่พัดลมจะเสียภายในเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น มีอยู่น้อยมากที่จะผ่านปีแรกไปได้โดยไม่เสีย พัดลมระบายความร้อนที่ใช้งานได้ดี ก็คงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเพนเทียมรุ่นที่มีพัดลมติดมาด้วย การเลือกใช้พัดลมระบายความร้อนต้องพยายามใช้ของดีมียี่ห้อ เพราะถ้าพัดลมระบายความร้อนเสีย จะทำให้ซีพียูร้อนจัด ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงก์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ และทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลง ถ้าพัดลมระบายความร้อนเสียต้องเปลี่ยนอย่างเดียว

10.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-Rom Drive)
ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบมัลติมีเดีย
หรือเป็นสื่อผสม ซึ่งจะต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพและเสียง ดังนั้น แผ่นซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีแผ่นซีดีรอมเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีเครื่องผ่านแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำแผ่นซีดี ที่เสียแล้ว หรือมีรอยขีดข่วนมากๆ มาอ่าน เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย

ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้ ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว (ทิป น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป การใช้ควรใส่น้ำยาบนผ้าที่สะอาด จากนั้นลูบไปบริเวณตัวเครื่อง ทิ้งไว้สักพัก และค่อยเช็ดออก จะช่วยลดแรงในการขัดได้มาก)


มาดูการทำความสะอาดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์บางคับ



สำรองข้อมูล

เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาของคอมพิวเตอร์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาของคุณได้มากทีเดียว การสำรองข้อมูลอาจสำรองลงแผ่น ดิสก์, ซีดี หรืออาจแบ่ง partition ในฮาร์ดดิกส์ แล้วทำรองไว้ ทั้งนี้คงขึ้นกับกำลังเงินที่เรามีอยู่


ทำความสะอาดแผงวงจร


ปัญหาอย่างหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายได้ นั่นคือ ความชื้นและฝุ่นละอองที่เกาะตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้น เราจึงควรทำความสะอาดบ้างอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่ที่ติดตั้งคอมฯ ว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองมากน้อยเพียงใด การทำความสะอาด จำเป็นต้องต้องเปิดฝาเครื่อง จากนั้นให้ใช้เครื่องเป่าผม หรือเครื่องดูดฝุ่น (ขนาดเล็ก) ใช้เป่า หรือดูดฝุ่นออกมา ระวังเวลาดูดหรือเปล่า อย่าเข้าใกล้แผงวงจรมากนัก


ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ในการจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ถูกใช ้งานมากที่สุด ดังนี้เราจึงควรมีการตรวจสอบ ฮาร์ดดิสก์เป็นประจำอยู่เสมอ โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบ เช่น ลบขยะภายในเครื่อง Disk Cleanup, ตรวจสอบดิสก์ Scandisk และ จัดเรียงข้อมูลในดิสก์ Disk Defregment (อย่างน้อยเดือนละครั้ง)


ตรวจสอบไวรัส  โกรธ

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหา และช่วยในการทำงานของคุณให้ราบรื่นด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ไวรัสมีการแพร่กระจายทุกวัน และโดยเฉพาะการใช้งาน internet & Email ก็เป็นที่แพร่หลายมากด้วย ดังนั้นโอกาสในการติดไวรัสย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ การป้องกันย่อมดีกว่าแก้ปัญหาแน่นอน ดังนั้นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อป้องกันและตรวจสอบไวรัส ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องกระทำ และนอกจากนี้ คุณจำเป็นจะต้องมีการ update ไฟล์ที่สามารถป้องกันไวรัสตัวไวรัสอย่างสม่ำเสมออีกด้วย (อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง)

ซอฟต์เเวร์


หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริงบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์  ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์

เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง

ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ภาษาเครื่องนั้น เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และสามารถติดต่อได้โดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นระบบรหัส หรือที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษา คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ซึ่งเริ่มใกล้เคียงภาษามนุษย์มากขึ้น เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ เป็นภาษาที่ค่อนข้างจะสมัยใหม่ เช่น ภาษา C# ภาษาจาวา เป็นต้น

ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษา เครื่อง ดังนั้น จึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็น ภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)

     

วัดสวนดอก


ประวัติวัดสวนดอก พระอารามหลวง

สภาพและฐานะที่ตั้งของวัด   
             วัดสวนดอก ตั้งอยู่เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  วัดสวนดอกเป็นวัดกษัตริย์สร้าง พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์  มังรายหรือเม็งราย อาณาจักรล้านนาทรงสร้างวัดสวนดอก ซึ่งถือเป็นวัดสำคัญยิ่งในสมัยนั้น พระองค์ทรงสร้างเพราะด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนาและเพื่อเป็นสถานที่อยู่และปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์  เป็นที่ทำบุญประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธซึ่งคาดว่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.1962  
           ต่อมาในสมัยที่นครเชียงใหม่ ภายใต้การปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ทางรัฐบาลส่วนกลางได้เห็นความสำคัญจึงได้ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางพุทธศาสนา มีการยกย่องชมเชยวัดที่มีการจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อม ดังนั้น วัดสวนดอก ได้รับการยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนาเมื่อ พ.ศ.2509 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2533 ก็ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
alt
ความเป็นมาของชื่อวัด
      วัดสวนดอก พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้ทรงพระราชทานพระราชอุทยานดอกไม้ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าบริเวณอุทยานดอกไม้นั้นจะเต็มไปด้วยต้นพยอม ซึ่งบางท่านก็เรียกว่าสวนดอกพยอมและพระราชทานนามว่า “วัดบุปผาราม” ซึ่งเป็นภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทยหมายถึง วัดสวนดอก ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกง่าย ๆ ว่า วัดสวนดอก
อาณาเขตและอุปจาระวัด
            ทิศเหนือยาว 183 เมตร ติดต่อกับถนนสุเทพ
            ทิศใต้ยาว 193 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณ-ประโยชน์
            ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์
            ทิศตะวันตกติดต่อทางสาธารณประโยชน์
     พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบใกล้เชิงดอยสุเทพ บริเวณโดยรอบเป็นหมู่บ้าน ร้านค้า และสถาบันการศึกษา การคมนาคมติดต่อกับทางวัด มีถนนสุเทพเป็นหลัก

ทรัพย์สิน
        1. ที่ดิน
              พ.ศ.2471 ทางกรมการศาสนาได้จัดทำแผนที่วัดไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งมีอยู่ในบัญชี 92 ไร่กว่า ต่อมาเจ้าหน้าที่ของหมู่บ้านได้สมคบกับเจ้าพนักงานที่ดินได้ยักย้ายออกโฉนด หรือ นส.3 แก่เอกชนทำเป็นที่จัดสรรและบ้านที่อยู่อาศัย อาณาเขตบริเวณวัดสวนดอกบางส่วนจึงถูกชาวบ้านครอบครอง โดยผิดกฎหมาย เจ้าอาวาสรูปก่อน (พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์) ได้ทำคำร้องยื่นต่อศาล โดยผ่านเจ้าหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด1  และ เรื่องกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการในความรับผิดชอบของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ปัจจุบันมีที่ดินเฉพาะที่ตั้งวัด 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 9533  ที่ธรณีสงฆ์มี 5 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา
[1]   มณี  พยอมยงค์. “ประวัติและงาน พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ  ญาณวุฑฺฒิ)” พิธีกรรมล้านนาไทย, (เชียงใหม่ : ธาราทองการพิมพ์, 2531)
แผนผังวัดสวนดอก


สิ่งก่อสร้าง/สถานที่ศักดิ์สิทธิ์1. ปูชนียวัตถุ
          1.1 พระบรมธาตุเจดีย์  สร้างสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช พ.ศ.1916 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย เป็นศิลปะลังกาวงศ์ผสมล้านนา ลักษณะมีฐานสี่เหลี่ยมมีทางขึ้น 4 ด้าน ชั้นกลางมีลักษณะระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกา พระบรมเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
        1.3    พระพุทธรูปในพระวิหารหลวงวัดสวนดอก
พระพุทธประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช ประมาณ ปี พ.ศ.1917-1920
พระพุทธรูปองค์ยืน ด้านหลังพระประธาน สร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัย บูรณวิหารวัดสวนดอก เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปปางเพ่งอนิมิสเจดีย์ (สง่า  ไชยวงค์ ป.คอลัมน์ สวนดอกพุทธ เรื่อง ปริศนาธรรมในสวนดอก หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์)
alt
     พระพุทธรูปองค์เล็ก  หน้าพระประธาน คือ พระเจ้าค่าคิง (เท่าพระวรกาย)  พระเจ้ากือนา โปรดให้ช่างสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดเท่าวรกายของพระองค์ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร  (กรมวิชาการ เชียงใหม่ นพบุรีศรีนครพิงค์ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา) พ.ศ.2543 หน้า 165) (พระวรกายของพระกือนาขณะประทับยืนสูงเท่าองค์พระ)
ข้อมูลจากประชุมตำนานล้านนากล่าวว่า สร้างขึ้นโดยบัญชาของพระราชมารดาของพระเจ้ากือนา เพื่อถวายไว้แทนพระเจ้ากือนา เมื่อครั้งทรงประชวรหนัก จึงเป็นเหตุหนึ่งของการเรียกพระนามของพระพุทธรูปที่สร้างแทนพระองค์ว่า “พระเจ้าค่าคิง” ( คิง : ในภาษาล้านนา หมายถึง ตัวของเรา ดังจะเห็นได้จากคำพูดว่า “ฮู้คิงก่” หมายถึง รู้ตัวหรือเปล่า)

       
alt          1.4    พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ศิลปะแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร ใช้ทองมีน้ำหนัก 9 ตื้อ สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.2047 เพื่อเป็นพระประธานในวิหารวัดพระสิงห์ เมื่อหล่อเสร็จไม่สามารถชักลากเข้าเมืองได้ จึงประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
alt

        1.5    อนุสาวรีย์ (กู่) ที่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย และพระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ สร้างประมาณ พ.ศ.2452 ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
alt

       1.6   เจดีย์อนุสาวรีย์ (กู่) บรรจุอัฐิครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย สร้างเมื่อ พ.ศ.2490 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ครูบาศรีวิชัย มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสวนดอก และเพื่อเป็นที่สักการะบูชาของสาธุชนทั่วไป
alt
        1.7    ธรรมาสน์เทศนาแบบล้านนา  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2474  ซึ่งเป็นธรรมาสน์ศิลปะล้านนาที่มีความงดงามใช้สำหรับเทศนาธรรมแบบล้านนาในเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศน์มหาชาติ ตั้งธรรมหลวง ฯลฯ
alt

         1.8    ซุ้มประตูวัด จำนวน 3 ซุ้ม เป็นซุ้มปราสาทแบบล้านนาขนาดใหญ่ สร้างขึ้นสมัยครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดสวนดอกเมื่อ พ.ศ.2474

2.  อาคารเสนาสนะต่าง ๆ
alt
         2.1    พระวิหารหลวง  กว้าง 12 วา 2 ศอก ยาว 33 วา สร้างเมื่อ พ.ศ.2474  โดยครูบาศรีวิชัย และเจ้าแก้วนวรัฐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นวิหารโถงไม่มีผนัง แต่มีระเบียงโดยรอบ หน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้น เครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
alt

       2.2 พระอุโบสถ  พระอุโบสถกว้าง 12 เมตร ยาว 27 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2047 เป็นอาคารคอนกรีตก่อด้วยอิฐถือปูน ศิลปะแบบล้านนา ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ.2505 ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังโดยนักจิตรกรรุ่นใหม่ เรื่องพุทธประวัติและพระเวสสันดรชาดก
alt

        2.2    หอฉัน  เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร ภายในมีภาพจิตรกรรมโดยจิตรกรรุ่นใหม่ เรื่องพระเจ้าสิบชาติ สร้างเมื่อ พ.ศ.2519
alt

        2.3    อาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ (อาคาร 1)  เป็นอาคาร 3 ชั้น กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2536
alt
        2.4    อาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ อาคารช้อย 
นันทาภิวัฒน์ (อาคาร 2)  เป็นอาคาร 4 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2538
alt

        2.5    อาคารสถาบันวิทยบริการ  (อาคารธีระศักดิ์  ไพโรจน์สถาพร)  เป็นอาคารแบบ 3 หลัง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2539
alt
       2.6    กุฏิสงฆ์   สร้างขึ้นในบริเวณวัดเพื่อเป็นที่พักขอพระสงฆ์ มีจำนวนทั้งสิ้น  21 หลัง  หลังที่มีความสำคัญ คือ ศาลาฝาไหล มีลักษณะการสร้างที่พิเศษกว่าหลังอื่น ๆ
ความสำคัญของวัดสวนดอก  อดีต-ปัจจุบัน

          วัดบุปผารามสวนดอกไม้พยอม  มีความสำคัญต่อนครพิงค์เชียงใหม่และประชาชนชาวเชียงใหม่ ล้านนาไทย เป็นเอนกประการดังต่อไปนี้
1. ในสมัยอาณาจักรล้านนา
         วัดสวนดอกมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อพุทธจักรและอาณาจักรของล้านนา ดังต่อไปนี้
1.1  เป็นประตูรับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิใหม่
        พญากือนาธรรมิกราช  ทรงเลื่อมใสต่อพระสุมนเถรรัตนบุปผา มหาสวามี ซึ่งเป็นพระชาวสุโขทัยแต่ไปบวชในลัทธิลังกาวงศ์ จากพระอุทุมพรบุปผามหาสวามี เมืองสุธรรมวดีของมอญ พระพุทธศาสนาลัทธินี้จึงเรียกว่า ลัทธิลังกาวงศ์บ้าง รามัญวงศ์บ้าง แต่ก็เป็นลัทธิใหม่ในรัชสมัยพระเจ้ากือนา การที่ล้านนาไทยเปิดประตูรับลัทธิใหม่ ทำให้พระสงฆ์จากลัทธิเดิมของล้านนาไทยตื่นตัวใฝ่การศึกษา และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนทำให้ล้านนาไทยเป็นแหล่งวิทยาการทางพุทธศาสนาอย่างสำคัญยิ่งจนสามารถทำสังคายนาครั้งที่ 8 ของโลก ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) สมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ.2020
1.2    เป็นแบบอย่างทางสถาปัตยกรรม
         พระเจดีย์ เป็นศิลปะลังกาผสมกับศิลปะล้านนา คือมีฐานเป็นเหลี่ยม มีทางขึ้นลง 4 ด้าน ชั้นกลางมีลักษณะระฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ อันเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวพุทธในลังกานำแบบมาจากพระเจดีย์ ศานจิในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธศิลป์เริ่มแรกของพุทธศาสนา ชาวเชียงใหม่ที่ไปศึกษาในประเทศศรีลังกา และภิกษุชาวศรีลังกาที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาได้นำเอาศิลปะลังกาเข้ามาด้วย พระเจดีย์วัดบุปผารามจึงมีลักษณะอย่างเดียวกับศรีลังกา คือ มีระฆังคว่ำเจดีย์นี้ได้เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมล้านนาสืบมาจนทุกวันนี้

1.3 เป็นแบบอย่างทางศิลปะและประติมากรรม
           ในรัชสมัยพญากือนาธรรมิกราชทรงได้หล่อพระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ เท่าพระวรกายของพระองค์ให้หล่อด้วยช่างล้านนาอย่างสวยงามประดิษฐานไว้บนวิหารหลวง  นับเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างล้านนาที่สวยงามองค์หนึ่ง เป็นแบบอย่างการหล่อพระพุทธรูปสมัยต่อมา
พระพุทธปฏิมากรองค์ใหญ่ คือ พระเจ้าเก้าตื้อ (ในตำนานเมืองเชียงใหม่ คำว่า “ตื้อ” เป็นมาตรานับของล้านนาไทยคือนับเป็น ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, โกฏิ, กือ, ตื้อ, ติ้ว, อสงไขย) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยช่างล้านนาและสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในล้านนาไทย หรือจะสวยกว่าพระพุทธรูปทุกองค์ในเมืองไทยก็ว่าได้ เพราะมีพระพักตร์รูปไข่แย้มพระโอษฐ์นิด ๆ ประหนึ่งจะให้
พรแก่ผู้มากราบไหว้สักการะบูชาพระเจ้าเก้าตื้อองค์นี้ เป็นที่รวมศรัทธาชาวเชียงใหม่ทุกกาลสมัย เป็นแบบอย่างแห่งศิลปะที่ชาวล้านนาในรัชสมัยพระเจ้าศิริจักรพรรดิราช (พระเมืองแก้ว) หล่อไว้ พ.ศ.2047-2050  ซึ่งเป็นยุคทองทางศาสนาของล้านนาอีกยุคหนึ่ง
1.4  เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
            พระเจดีย์ที่พญากือนาธรรมิกราชทรงสร้างขึ้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนะอาราธนามาจากสุโขทัย
1.5  เป็นที่ตั้งหอธรรม หรือปิฎกฆระ
          เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์สำคัญ ๆ ของบ้านเมืองและของพุทธศาสนา นับเป็นคลังแห่งความรู้อย่างยิ่ง ในสมัยโน้นแสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของผู้คนที่มีห้องสมุดประจำชุมชนของตน อันมีวัดเป็นศูนย์กลางอย่างวัดบุปผารามสวนดอกนี้
1.6   เป็นที่สถิตของพระสังฆราชในอาณาจักรล้านนา
           วัดบุปผารามสวนดอกไม้พยอม เป็นที่สถิตของพระสังฆราชในอาณาจักรล้านนาและพระสังฆราชาฯ สมัยเจ้าผู้ครองที่ปรากฏแน่ชัด คือ พระบุปผามหาสวามี เป็นพระสังฆราชาในสมัยพระเจ้าศิริจักรพรรดิราชหรือพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว)

1.7เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
        วัดบุปผารามสวนดอกไม้พยอม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ หรือลัทธิสวนดอก พระสงฆ์หัวเมืองต่าง ๆ ของล้านนาจะสัญจรมาเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระบาลีและศิลปะวิชาการทางพุทธศาสนาและทางโลกจากสำนักนี้ ถึงกับสร้างตำนานศาสนาขึ้น เช่น ตำนาน
มูลศาสนาฉบับวัดสวนดอก แม้หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ก็กล่าวถึงวัดบุปผารามสวนดอกไม้
ไว้มากแห่ง แสดงถึงความสำคัญในความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาอย่างแท้จริง
alt

3    ความสำคัญของวัดบุปผารามสวนดอกไม้ในปัจจุบัน
           นับตั้งแต่ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามสวนดอกไม้นี้แล้ว ความสำคัญของวัดในอดีตก็กลับคืนมา เป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้นตามลำดับ ในระหว่าง พ.ศ.2489
          พระครูสุคันธศีล (หลวงปู่คำแสน) จากวัดป่าพร้าวในมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตามคำสั่งของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่  ได้มีการบำรุงรักษาก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มเติม มีพระภิกษุเข้าจำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก ประชาชนให้การสนับสนุน มาทำบุญ บำรุงการก่อสร้างด้วยดี   หลังจากพระครูสุคันธศีลถึงแก่มรณภาพแล้ว     ในพ.ศ.2526

         ทางคณะสงฆ์จังหวัดได้ให้พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ  ญาณวุฑฺฒิ) เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมเป็นเจ้าอาวาสวัดพันอ้น  มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ เพราะคณะสงฆ์ถือว่าวัดนี้มีความสำคัญต่อพุทธศาสนาและบ้านเมืองเป็นอันมาก พระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของวัดหลายอย่าง ทั้งปรับปรุงบริเวณวัดให้มีความสวยงามเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ
เมื่อพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2531  และพระราชทานเพลิงศพด้วยการสร้างเมรุมาศ เป็นที่ประดิษฐานศพบริเวณสนามด้านเหนือพระวิหารใหญ่ พระราชทานเพลิงไปเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 
   
  
    ต่อมาคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ พระครูธรรมเสนานุวัตรเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนดอก และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอมรเวที พ.ศ. 2543 จึงมีความสำคัญที่เห็นเด่นชัด ด้านการพัฒนาวัดหลายด้านและได้รับพระราชทานยกฐานะวัดราษฎร์ให้เป็นวัดพระอารามหลวง (ชั้นสามัญ) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม  2533 ทำให้เกิดความศรัทธาในวัดสวนดอกมากยิ่งขึ้น พระอมรเวที ได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 และพระราชทานเพลิงศพด้วยการสร้างเมรุมาศนกหัสดีลิงค์เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2551
 
3.1 เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมและประติมากรรม
         วัดสวนดอกมีพระเจดีย์ทรงลังกา ทรงผสมแบบลังกาล้านนา คือ เป็นเจดีย์ที่สร้างแบบเหลี่ยมไม้สิบสองและพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอก บัวตูม อันเลียนแบบจากศิลปะสุโขทัย ก่อสร้างสมัยพญากือนาและมหาสุมนเถระ ตลอดจนกลุ่มพระเจดีย์เล็กที่เรียกกันว่า “กู่” (สถาน ที่อยู่ของบุคคลชั้นสูง หรือเจ้านาย ปรากฏเอกสารโบราณ เช่น มหาชาติกัณฑ์กุมารว่า “คันกูของสองกุมารได้แล้ว จักพาหนี จากกู่พระบรรณศาล”) ที่บรรจุอัฐิของเจ้าผู้ครองนครพร้อมด้วยญาติพี่น้อง แต่เดิมนั้นตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดวโรรสชายฝั่งน้ำปิง
alt   alt

           ต่อมาราว พ.ศ.2452 พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ย้ายอัฐิพระประยูรญาติทั้งหลาย มาประดิษฐานไว้ที่วัดสวนดอก        และใช้บริเวณสุสานทั้งหมดเป็นตลาดสดประจำเมือง จึงเกิดเป็นตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไย มา จนบัดนี้ สำหรับลวดลายรูปแบบการสร้างพระเจดีย์เล็ก ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายเหนือนั้นมีแบบต่าง ๆ น่าศึกษาและนำไปเป็นแบบอย่างการ   ก่อสร้างได้ อย่างดี นอกจากนี้ยังมีกู่ครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่บริเวณด้านใต้พระวิหารใหญ่ด้วย
           อนึ่ง วัดสวนดอก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรที่สวยงามเป็นเยี่ยม คือ พระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานบนพระวิหารใหญ่  นอก จากนี้ พระพุทธรูปยืน หันพระพักตร์ไปทางพระเจดีย์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นองค์ประธานก่อสร้างสมัยพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช และมีพุทธนฤมิต    ซึ่งจำลอง แบบ มาจากศิลปพุกาม หรือพระทรงเครื่องศิลปะพม่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.1474-1475 สมัยที่ครูบาศรีวิชัยสร้างพระวิหารใหญ่ประติมากรรมเหล่านี้เป็นที่ตื่นตา ตื่นใจของผู้เข้าชมยิ่งนัก และนำไปเป็นแบบอย่างทางประติมากรรมอีกมากด้วย
3.2  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่
วัดบุปผารามสวนดอกไม้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาค้นคว้าทางโบราณสถานสำหรับชาวไทยและชาวต่าง ประเทศที่ได้แวะเวียนมาชมและศึกษาอย่างมิได้ขาดเพราะการคมนาคมสะดวกสบาย

3.2   เป็นสถานที่ให้ความรู้และอบรมทางวิชาการ
    วัดสวนดอกมีพระวิหารใหญ่ ซึ่งมีลักษณะพิเศษกว่าวิหารวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย ไม่ มีผนังเหมือนวิหารอื่น ทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง จึงใช้สถานที่นี้เป็นที่ประชุมอบรมทางวิชาการตลอดมา แม้การฟังเทศน์มหาชาติ อันเป็นประเพณีดั้งเดิมของล้านนา ซึ่งชมรมสหธรรม (กลุ่มน้อยหนาน) เชียงใหม่ (ชมรมสหธรรม (กลุ่มน้อย-หนาน) เชียงใหม่ เป็นชมรมของบุคคลผู้เคยบวชเรียนในพระพุทธศาสนา น้อย = ผู้เคยบรรพชาเป็นสามเณร       หนาน = ผู้เคยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ) ใช้พระวิหารใหญ่นี้เป็นที่จัดงานทุกปี จะเห็นได้ว่าวัดสวนดอกยังเป็นศูนย์กลางแห่งวิทยาการทั้งหลายเสมอมา
alt alt
อบรมวิชาการให้พระเถระบนพระวิหารวัดสวนดอก
alt
อบรมเยาวชนบนพระวิหารหลวง

3.3    เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
            เมื่อปีพุทธศักราช 2526  คณาจารย์ประกอบด้วย ผศ.รุ่งเรือง  บุญโญรส  ผศ.ดร.สิงห์ ทน  คำซาวและ ศ.มณี  พยอมยงค์ ฯลฯ  ซึ่งเป็นคณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำริตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น  ให้ชื่อว่า “วิทยาลัยสงฆ์ล้านนา”  เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสได้เรียนถึงระดับอุดมศึกษา อันจะเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนาสืบไป  จึงได้ประสานงานกับพระศรีธรรมนิเทศก์ (กมล  โชติมนฺโต) รองเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์     (ไฝ  ญาณวุฑฺฒิ)  เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนดอก ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม 2527  ได้มีการประกาศคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่จัดตั้ง “วิทยาลัยสงฆ์ล้านนา”  โดยพระ ราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ  ธมฺมทินฺโน)  เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่  ณ วัดสวนดอก และเปิดสอนในวันที่ 18 มิถุนายน 2527  ในวันที่ 3 ตุลาคม 2538  สภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์ล้านนา เป็นส่วนหนึ่งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามข้อเสนอของวิทยาลัยสงฆ์ล้านนา และให้เรียกชื่อเป็นทางการว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่”  จึงทำให้วัดสวนดอกกลับเป็นศูนย์กลางการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ของล้านนาไทย1 ตุลาคม 2540  ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่”  โดยให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกำกับของรัฐบาล

       ปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่สามารถผลิตบัณฑิตทางพุทธศาสตร์ สังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ และมนุษยศาสตร์  เพิ่มมากขึ้นทุกปี กระจายไปอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย

ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          1. พระมหาสุมนเถระ                     ตั้งแต่ปี    พ.ศ. 1914
          2. พระมหากัสสปะเถระ                 ตั้งแต่ปี     พ.ศ.1933
          3. พระมหานันทปัญญาเถระ           ตั้งแต่ปี     พ.ศ.1947
          4. พระมหาพุทธปัญญาเถระ           ตั้งแต่ปี     พ.ศ.1962
          5. พระมหาพุทธคัมภีร์เถระ             ตั้งแต่ปี     พ.ศ.1964
          6. พระมหารังษีเถระ                    ตั้งแต่ปี     พ.ศ.1987
         7. พระมหาไตรปิฎกสังฆราชา          ตั้งแต่ปี     พ.ศ.1994
         8. พระมหาพุทธรัหขิตเถระ              ตั้งแต่ปี     พ.ศ.2010
         9. พระมหาญาณสาครเถระ              ตั้งแต่ปี    พ.ศ.2012
         10. พระมหานาคเสนเถระ               ตั้งแต่ปี     พ.ศ.2019
         11. พระมหาญาณวชิรโพธิเถระ         ตั้งแต่ปี     พ.ศ.2022
         12. พระมหาพุกามญาณสาครเถระ      ตั้งแต่ปี    พ.ศ.2033
         13. พระมหากัปปคุณพุกามเถระ         ตั้งแต่ปี    พ.ศ.2043
         14. พระมหาธรรมโพธิเถระ               ตั้งแต่ปี    พ.ศ.2044
         15. พระมหาวชิระปัญญาเถระ            ตั้งแต่ปี    พ.ศ.2357
         16. พระครูคันธศีล                          ตั้งแต่ปี   พ.ศ.2489-2519
         17. พระมหาศรีชุม    สิริป ญโญ         ตั้งแต่ปี   พ.ศ. 2519-2522
         18. พระครูศรีปรัยัติยานุรักษ์  (ไฝ )      ตั้งแต่ปี   พ.ศ.2425-2531
         19. พระมหาวรรณ    เขมจารี             ตั้งแต่ปี   พ.ศ.2532- 2551

วัดสวนดอกยุคเริ่มต้นและพัฒนาการ

            ยุคราชวงศ์มังราย
         พญามังรายมหาราช  ซึ่งบางแห่งเรียก  พ่อขุนเม็งรายมหาราช ทรงสร้างพระนครเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานี คือเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาโดยการไปเชื้อเชิญพญาร่วงหรือพ่อขุนราม คำแหงมหาราช แห่งเมืองสุโขทัย และพญางำเมือง หรือพ่อขุนงำเมืองแห่งเมืองพะเยา ซึ่งเป็นพระปิยสหาย มาเป็นที่ปรึกษาในการสร้างพระนคร ตามปรากฏในตำนานราชวงศ์พื้นเมืองเชียงใหม่  ดังนี้  “พญามังรายก็ใช้อามาตย์ผู้รู้ผู้หล๊วก ไปเมืองพรูยาว (พะเยา)  ที่อยู่พญางำเมือง เมืองสุกโขทัย (สุโขทัย) ที่อยู่พญาล่วง (ร่วง) แล้วเรียกร้องเอาพญาทั้งสอง อันเป็นมิตรรักกันด้วยพญามังราย
ก็ชักชวนว่าจะตั้งบ้านใหญ่เมืองหลวงได้ยินคำจาก็โสมนัสยินดี” (พญามังรายก็รับสั่งให้อำมาตย์
ผู้ เฉลียวฉลาดเดินทางไปกราบทูลเชิญพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา พญาร่วง แห่งเมืองสุโขทัย ได้เสด็จมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาในการสร้างบ้านใหญ่ เมืองหลวง ซึ่งพญาทั้งสองก็ทรงโสมนัสเป็น
อันมาก) (ราช วงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ 4 ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2518)
alt
          พระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ ได้ทรงปรึกษาหารือกันเลือกชัยภูมิเหมาะสมและเป็นมงคลยิ่ง สร้างพระนครใหม่ขึ้น ณ เชิงเขาสุเทพ สร้างกำแพงเมืองและสร้างป้อมปราการคูเมือง สร้างปราสาทราชวังที่ประทับ ตลอดถึงบ้านเรือนของขุนนางข้าราชการและอาณาประชาราษฎร์สำเร็จแล้ว จึงขนานนามพระนครใหม่นี้ว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ ในปีพุทธศักราช 1839-1840  นับแต่สร้างพระนครเชียงใหม่เป็นราชธานีแล้วอาณาจักรล้านนาไทยก็มีความเป็น ปึกแผ่นแน่นหนาเป็นที่เกรงขามแก่เหล่าราชศัตรู และเป็นประเทศที่รุ่งเรืองสมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข จำเริญด้วยศิลปวัฒนธรรมขึ้นตามลำดับ และราชวงศ์มังรายก็สืบสันตติวงศ์มาเป็นเวลานานถึง 200 กว่าปี มีพระมหากษัตริย์ถึง 18 พระองค์ ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย1
ลำดับ
พระนาม
ช่วงเวลาที่ครองราชย์
หมายเหตุ
1
2
3
4
5
6
7
8
พญามังราย
พญาไชยสงคราม
พญาแสนภู
พญาคำฟู
พญาผายู
พญากือนา
พญาแสนเมืองมา
พญาสามฝั่งแก่น
(พ.ศ.1804-1854)
(พ.ศ.1854-1868)
(พ.ศ.1868-1877)
(พ.ศ.1877-1879)
(พ.ศ.1879-1898)
(พ.ศ.1898-1928)
(พ.ศ.1928-1944)
(พ.ศ.1945-1984)
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ปีขึ้นครองราชย์จากศิลาจารึก ลพ.9
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
พญาติโลกราช
พญายอดเชียงราย
พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)
พญาเกศเชษฐราช (ครั้งที่ 1)
(พระยาเมืองเกษเกล้า)
ท้าวชาย
พญาเกศเชษฐราช (ครั้งที่ 2)
พระนางจิรประภา
พญาอุปเยาว์ (พระไชยเชษฐา)
ท้าวเมกุฏิ
พระนางวิสุทธเทวี
(พ.ศ.1984-2030)
(พ.ศ.2030-2038)
(พ.ศ.2038-2068)
(พ.ศ.2068-2081)
(พ.ศ.2081-2086)
(พ.ศ.2086-2088)
(พ.ศ.2088-2089)
(พ.ศ.2089-20902)
(พ.ศ.2094-2107)
(พ.ศ.2107-2121)
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากชินกาลมาลีปกรณ์
ปีขึ้นครองราชย์จากชินกาลมาลีปกรณ์
ศักราชจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ศักราชจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ศักราชจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ศักราชจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ศักราชจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
สิ้นพระชนม์ พ.ศ.2121 จากนั้นพม่า
เลิกแต่งตั้งกษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์
มังราย
    1  สุรัสวดี  อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, (เชียงใหม่ : ช้างเผือกการพิมพ์ 2530), หน้า 25.
     2  ช่วง พ.ศ.2090-2094 ได้ว่างเว้นกษัตริย์ผู้ครองเมือง เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดราชบัลลังก์
ยุคพญากือนาธรรมิกราช

                พญากือนา  เป็นราชโอรสของพญาผายู กษัตริย์แห่งล้านนาและประทับอยู่  ณ นครพิงค์เชียงใหม่ซึ่งเป็นราชธานี เป็นผู้ทรงเดชานุภาพทั้งในด้านยุทธศาสตร์และศิลปศาสตร์ทั้งมวล  อันประกอบด้วยโหราศาสตร์ ความรู้ทางดารานักษัตรและการทำนายโชคชะตา ศัพทศาสตร์ ความรู้ทางภาษาโบราณและภาษาของชนชาติข้างเคียง เช่น ภาษาพม่า มอญ เป็นต้น นิทานอุเทศ มีความรู้ทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบุคคลสำคัญและทางการเมือง มีความรู้เกี่ยวกับพระเวท พิธีกรรม และจารีตประเพณีอันเกี่ยวกับเวทางคศาสตร์ ราชนิติและประเพณีทั่วไป คชศาสตร์ มีความรู้ทางดูลักษณะของช้างและราชพาหนะอื่น ๆ รวมทั้งเชี่ยวชาญด้านการคล้องช้างและฝึกช้าง พญากือนา  ทรงเสวยราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้ 40 พรรษา ในรัชกาลของพระองค์เป็นที่ยำเกรงแก่ประเทศน้อยใหญ่มาก ต่างส่งราชบรรณาการมาถวายมิได้ขาด พ่อค้าต่างเมืองนำเอาสินค้ามาขายไม่ขาด ทำให้อาณาประชาราษฎร์มีความมั่นคงสมบูรณ์ ด้วยธัญญาหารและอยู่กันอย่างผาสุก ภายใต้พระบารมีของพระองค์นอกจากจะทรงเป็นพระราชาที่แกร่งกล้า ปกครองบ้านเมืองด้วยความเจริญรุ่งเรืองแล้ว ยัง มีพระทัยเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ดังกล่าวไว้ในหนังสือพงศาวดารโยนกว่า  ฝ่ายพระเจ้ากือนาครองราชสมบัติในเมืองนครพิงค์เชียงใหม่ ประกอบชอบด้วยทศพิธราชธรรม เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา และพอพระทัยใฝ่ศึกษาศิลปศาสตร์ต่าง ๆ ทรงชำนาญในทางโหราศาสตร์ ศัพทศาสตร์นิทานอุเทศ เวทางคศาสตร์ คชศาสตร์ เป็นต้น ทรงพระปรีชาสามารถในราชกิจใหญ่น้อยต่าง ๆ ท้าวพญานานาประเทศก็ยำเกรง น้อมนำบรรณาการยื่นถวายมิขาด  กาลยามนั้น  เมืองนครพิงค์เชียงใหม่  สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร และแสนเสนามาตย์ อาณาประชาราษฎร์ผู้กล้าผู้หาญบริบูรณ์ด้วยศฤงคารและราชสมบัติ ประชาชนชื่นบานชุ่มเย็นเกษมสุขทั่วกัน (พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม  บุนนาค),  พงศาวดารโยนก,  พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม  สุจริตกุล) พ.ศ.2478  หน้า 293.)
             ก่อนจะกล่าวถึงประวัติของวัดสวนดอกโดยละเอียด  จะขอนำเรื่องความเป็นมาของพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งได้สืบทอดผ่านมาทางพระภิกษุชาวรามัญแห่งเมืองพันหรือมติมานคร หรืออีกชื่อหนึ่งที่เราคุ้นเคยกว่าก็คือ เมาะตะมะ  ได้ไปอุปสมบท ศึกษาพระไตรปิฎกสืบทอดพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกาจำนวน 12 รูป และขณะเดียวกันพญาสุตโสม เจ้าเมืองพันก็ได้ส่ง ราชทูต ไปนิมนต์พระมหาเถระชาวลังกามาประกาศพระศาสนาในเมืองพันอีกด้วย  ทำให้พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองมาก พระเถระชาวสุโขทัย 2 รูป ก็ได้เดินทางไปศึกษาพระศาสนาที่เมืองพันแห่งนั้น และเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แผ่ขยายมาสู่นครพิงค์เชียงใหม่ และอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา วัดสวนดอกซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ก็ได้เกิดขึ้น ณ เวลานั้นพระมหาธรรมราชาสร้างวัดถวายพระสุมนะในกาลครั้งนั้นพญาธรรมราชากษัตริย์กรุงสุโขทัย มีพระทัยศรัทธาเลื่อมใสมาก พระองค์จึงทรงพระราชทานสวนมะม่วง สร้างเป็นอารามถวายไว้ให้เป็นที่พำนักแก่พระมหาสุมนะ  พระราชทานนามวัดว่า “วัดอัมพวนาราม”  ภายหลังชื่อวัดได้เปลี่ยนไปว่า “วัดป่าแก้ว”  ต่อมาเป็นที่สถิตพระมหาเถระชั้นบูรพาจารย์ของกรุงสุโขทัยหลายรูป พระมหาสุมนะได้นิมิตฝันเรื่องพระบรมสารีริกธาตุ ขณะที่พำนักจำพรรษาที่วัดอัมพวาราม หรือวัดป่าแก้ว  อยู่มาราตรีกาลหนึ่ง พระมหาสุมนะสุบินนิมิตเทวดามาบอกว่า พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันพระยา  ศรี ธรรมาโศกราช ทรงได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองปางจา พระเจดีย์องค์นั้นได้ชำรุดทรุดโทรม ปรักหักพังเสียหายเหลือแต่กอดอกเข็มต้นหนึ่งคลี่บาน  ส่งสัณฐานเป็นประดุจรูปม้านั่งอยู่บนพระบรมธาตุบรรจุอยู่นั้น พระบรมธาตุเจ้าองค์นั้นวิเศษนักหนาจักได้ไปประดิษฐานอยู่ในพิงคนครเชียงใหม่ ราชธานีอาณาจักล้านนาไทย  จักเป็นปูชนียวัตถุสถานที่สำหรับกราบไหว้เคารพสักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย ท่านจงไปขุดเอาพระบรมธาตุพระสัมมนาสัมพุทธเจ้าองค์นั้นเถิด แล้วอัญเชิญไปสู่พิงคนครเชียงใหม่โดยสวัสดี  ครั้งใกล้รุ่งพระมหาสุมนะก็สะดุ้งตื่นจากสุบินนิมิต พระมหาสุมนะก็ปลาบปลื้มยิ่งนัก
พระมหาสุมนเถระเดินทางไปค้นหาพระบรมธาตุ
              หลังจากที่พระมหาสุมนะเสร็จกิจวัตรแล้ว ก็เข้าไปถวายพระพรลาพญาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัย แล้วเดินทางไปสู่เมืองศรีสัชนาลัยแจ้งข่าวที่จะไปค้นหาพระบรมธาตุของสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังเทวดามาบอกในนิมิตฝันให้แก่เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยทรงทราบ พระองค์ทรงมีพระทัยปีติปราโมทย์เป็นยิ่งนัก จึงทรงสั่งให้บริวารเตรียมเครื่องมือพร้อมทั้งพระมหาสุมนะ จึงพาผู้คนและเครื่องสำหรับขุดไปตรวจดูสถานที่พิจารณาถี่ถ้วนที่พระเจดีย์ ร้าง ณ เมืองปางจา ก่อนที่จะลงมือขุด พระมหาสุมนะได้ให้ทำปะรำทำพิธีแล้วป่าวร้องชักชวนชาวเมืองศรีสัชนาลัยมาช่วย ขุดและร่วมพิธี ขออธิษฐานพระบรมธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ ผู้คนชาวเมืองทั้งหลายก็มาร่วมเป็นจำนวนมาก พอถึงราตรีกาลใกล้รุ่งพระมหาสุมนะก็ขึ้นนั่งอาสนะ ในปะรำพิธีอธิษฐานขออาราธนาพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ พระบรมสารีริกธาตุเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์ไพโรจน์โชตนาการดูรุ่งเรืองงาม เหลืองอร่ามพุ่งขึ้นจากกอดอกเข็ม อันมีรูปสัณฐานประดุจดั่งม้านั่งนั่นแล พระมหาสุมนเถระจึงสั่งให้คนทั้งหลายและบริวารเอาช่อธงปักเป็นเครื่องหมายไว้ ณ ที่นั้น พระบรมธาตุเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์ตลอดราตรีกาล ดูรุ่งเรืองงามยิ่งนัก ครั้นถึงวันรุ่งขึ้นพระมหาสุมนเถระ ก็ให้คนทั้งหลายที่จะขุดพระบรมธาตุชำระกายให้สะอาดแล้วสมาทานศีล 5 ศีล 8 จึงได้ให้ขุดตรงที่เอาธงปักหมายไว้ พอขุดลงไปก็พบก้อนอิฐก้อนหิน แล้วขุดลึกลงไปอีก 44 ศอกก็ได้พบโกศบรรจุพระบรมธาตุ พระมหาสุมนเถระจึงเปิดออกดูก็พบโกศทองเหลือง โกศเงิน โกศทองคำ โกศแก้วประพาฬ  มีประมาณเท่าผลมะกอก จึงเอาออกมาและมองเห็น พระบรมธาตุสถิตอยู่ในนั้นเท่าเมล็ดถั่วถิม (ถั่วเขียว) พระมหาสุมนเถระเจ้าจึงสรงพระบรมธาตุด้วยน้ำสุคันโธทก  กระทำสักการะบูชาด้วยธูป เทียน มาลา ขณะนั้นพระบรมธาตุเจ้าก็กระทำปาฏิหาริย์เป็นสององค์ สามองค์ เสด็จลอยวนเวียนเหนือผิวน้ำ 8 รอบเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนัก พระมหาสุมนะก็บังเกิดปิติซาบซ่านมากนักพระมหาสุมนเถระรายงานแด่พญาศรีสัชนาลัย   พระมหาสุมนเถระก็แจ้งบอกข่าวสาร เรื่องได้ขุดค้นพบพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าอันประเสริฐยิ่งแก่พญาศรีสัชนา ลัย พระองค์ก็บังเกิดพระราชหฤทัยปีติปสาทะเลื่อมใสจึงโปรดให้สร้างปราสาทหลัง หนึ่ง เสร็จแล้วพระองค์พร้อมด้วยบริวารจึงเสด็จราชดำเนิน ขณะที่พญาศรีสัชนาลัยเสด็จไปถึงนั้นพระมหาสุมนเถระยังสักการะบูชาพระบรมธาตุ ยังไม่เสร็จพิธี พระบรมธาตุเจ้าก็ยิ่งซ้ำแสดงปาฏิหาริย์พุ่งส่องแสง รัศมีโชติช่วงโชตนาการเปล่งฉัพพรรณรังสีให้คนทั้งหลายแลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ ใจยิ่งนัก ผู้คนทั้งหลายก็ปกติแช่มชื่นเบิกบานใจ การที่ได้รู้ได้เห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ ส่วนพญาศรีสัชนาลัยก็ถวาย นมัสการเคารพสักการะบรมธาตุเจ้า เหตุที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เป็นที่อัศจรรย์พระราชหฤทัยยิ่งนัก

พญาศรีสัชนาลัยแจ้งข่าวการขุดพบพระบรมธาตุแก่พระมหาธรรมราชา
        พระมหาสุมนเถระและพญาศรีสัชนาลัย ก็ทรงรับสั่งให้ราชบุรุษไปสู่ราชสำนักกรุงสุโขทัยของพญาธรรมราชา  พระองค์ทรงรำพึงในพระทัยว่า “ผิว่าพระบรมธาตุปรากฏแก่เราจริงดังข่าวสาร เราจักสร้างสุวรรณเจดีย์หลังหนึ่งเป็นฐาปนาประดิษฐานพระธาตุให้เป็นที่กราบ ไหว้สักการะบูชา”พญาธรรมราชา (พญาลือไท)  ทรงรำพึงดังนี้แล้ว  ก็ได้ทรงรับสั่งให้อาราธนาพระบรมธาตุกับพระมหาสุมนเถระเป็นประธานเข้ามากรุง สุโขทัย เมื่อขบวนพระบรมธาตุมาถึงแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงสักการะบูชาด้วยธูปเทียนมาลา ทรงสรงน้ำ พระบรมธาตุเจ้าก็ไม่แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่พญาธรรมราชา ชะรอยเมืองสุโขทัยไม่ทรงเป็นที่ฐาปนาพระบรมธาตุพญาก็ไม่ทรงบังเกิดราชศรัทธา เลื่อมใส พระองค์ก็ทรงนมัสการพระมหาสุมนะและรับสั่งว่า พระบรมธาตุองค์นี้จงเก็บรักษาไว้เถิด พระมหาสุมนะก็รักษาพระธาตุไว้สักการะต่อไป ต่อมาพระมหาสุมนเถระก็กระทำพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองทั้งกรุงสุโขทัย ทั้งเมืองศรีสัชนาลัยตลอดมา

พญากือนาแต่งราชทูตไปสืบพระศาสนาที่เมืองพัน
          พญากือนาพระองค์มีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก พระองค์ปรารถนาอยากได้พระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรม แตกฉานในพระพุทธวจนะ (รู้มคธภาษา) มีความสามารถในการประกอบกิจสังฆกรรมให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธาณัติมาไว้ในพิง คนครเชียงใหม่อันเป็นนครที่พระองค์ทรงเป็นพระประมุขปกครอง
             ต่อมาพญากือนา พระมหากษัตริย์พิงคนครเชียงใหม่ได้ทรงทราบข่าวสารสุปฏิบัติของพระมหาเถระชาว รามัญ อันอยู่เมืองพันหรือมติมานคร (เมาะตะมะ) มีราชทินนามว่า “พระอุทุมพร  บุปผามหาสวามี” พระองค์จึงทรงแต่งให้หมื่นเงินกองเป็นราชทูตกับปะขาวยอด ปะขาวสายอัญเชิญพระราชสาส์นไปอาราธนานิมนต์พระมหาสวามีเถระ มาเผยแพร่พระศาสนาในพิงคนครเชียงใหม่ พระมหาสวามีเถระองค์ประมุขสงฆ์ท่านทรงชราภาพมากไม่อาจมาได้ จึงมอบให้พระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เป็นศิษย์จำนวน 10 รูป จาริกมาแทนพร้อมสามเณร และผู้ติดตามมีพระนันทเถระเป็นประธาน เมื่อคณะสมณะทูตจาริกมาถึงพิงคนครแล้วก็ได้เข้าถวายพระพรพญากือนา  พญากือนาจึงทรงจัดเสนาสนะให้พักที่วัดโลกโมฬี (วัดร้างอยู่ถนนมณีนพรัตน์) แล้วพระองค์ก็ทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวรามัญทำวินัยกรรมสมมติสีมา และทำการอุปสมบทกรรม พระสงฆ์รามัญถวายพระพรพญากือนาว่า พระอุทุมพรบุปผามหาสวามี ท่านได้อนุญาตให้พระมหาสุมนเถระชาวเมืองสุโขทัยเป็นผู้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบ ลัทธิลังกาวงศ์มาประดิษฐานในประเทศนี้ ส่วนอาตมาทั้ง 10 รูปนี้ ท่านมอบหมายให้มาฉลองพระราชศรัทธามหาราชเจ้า ขอพระมหาราชเจ้าส่งคนไปอาราธนาพระมหาสุมนเถระมาเป็นประธาน อาตมาทั้งหลายจึงจะกระทำสังฆกรรมอุปสมบทได้

พญากือนา  นิมนต์พระเถระจากสุโขทัย
           พญากือนาทรงทราบข่าวดังนี้แล้ว จึงแต่งให้หมื่นเงินกองเป็นศาสนราชทูตพร้อมด้วยปะขาวยอด ปะขาวสายอัญเชิญพระราชสาส์น พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการของฝากไปถวายเป็นราชไมตรีแก่พญาธรรมราชากรุง สุโขทัย เพราะครั้งนั้นอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรล้านนาไทย มีสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน มาตั้งแต่รัชสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราชกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สองกษัตริย์เผ่าเดียวกัน ขออาราธนาพระมหาสุมนเถระนำธรรมทูตไปฟื้นฟูสืบอายุพระพุทธศาสนา ในพิงคนครเชียงใหม่ พญาธรรมราชาก็ทรงอนุญาตให้ตามพระราชประสงค์ของพญากือนา  พระมหาสุมนเถระเมื่อได้รับอาราธนา จึงตกลงปลงใจมอบภาระหน้าที่ให้พระนันทะลูกศิษย์ปกครองวัดอัมพวนารามแทน พระมหาสุมนะจึงนำสามเณรกัสสปะผู้เป็นหลานจาริกเดินทางมาสู่พิงคนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยราชทูตหมื่นเงินกอง ปะขาวยอด ปะขาวสาย รอนแรมมาเป็นระยะทางอันไกล
            ฝ่ายพญากือนาเมื่อทรงทราบข่าว จึงเสด็จจากพิงคนครไปต้อนรับพระมหาสุมนเถระ ถึงตำบลแสนข้าห่อเชียงเรือนทรงอาราธนาพระมหาสุมนเถระพำนัก ณ วัดพระยืนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเมืองหริภุญชัยทรงให้พระมหาสุมนเถระทำ สังฆกรรมอุปสมบทกุลบุตร พระมหาสุมนเถระพร้อมด้วยสงฆ์รามัญ 10 รูป จึงทำการสมมตินทีสีมาในแม่น้ำระมิงค์ (ปิง) กระทำอุปสมบทกรรมสามเณรกุมารกัสสปะผู้มีอายุครบ 20 ปี เป็นภิกษุภาวะใกล้วัดจันทภาโน เป็นปฐมในแม่น้ำระมิงค์ หลังจากนั้นก็ได้อุปสมบทกุลบุตรชาวลำพูนและชาวเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก พระมหาสุมนเถระกับพญากือนาจึงสร้างพระพุทธรูป 4 องค์ ประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระยืน ใน พ.ศ.1912 (จ.ศ.731) ทรงโสมนัสพระทัยเป็นอันมาก จึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์อุสสาภิเษกพระมหาสุมนเถระเป็น “พระมหาสุมนรัตนบุปผาสวามี”
พระมหาสุมนเถระ ถวายพระบรมสารีริกธาตุแก่พญากือนา
         พระมหาสุมนเถระได้น้อมถวายพระบรมธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันขุดได้จาก เจดีย์ร้างเมืองปางจาศรีสัชนาลัยนั้นออกแสดงแก่พญากือนาและแจ้งข่าวสารแรก แต่เทวดามาบอกนิมิตร ถวายแก่พญากือนาทุกประการ  พญากือนามีพระราชหฤทัยเบิกบานเป็นอันมาก จึงสรงน้ำสุคันโธทก สรงพระบรมธาตุเจ้าในโกศแก้วอันปราณีตงดงาม ครั้งนั้นพระบรมธาตุเจ้าในโกศแก้วก็กระทำการปาฏิหาริย์มีวรรณดั่งทองคำ ลอยวนอยู่เหนือผิวน้ำ ตำนานกล่าวว่า ขณะนั้นท้องฟ้าก็มืดคลื้ม ฝนก็โปรยปรายลงมามิได้ขาด  พญากือนาพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์บริวารทั้งหลาย ทรงเห็นปาฏิหาริย์ก็เปล่งเสียงสาธุการยินดีเป็นอย่างยิ่ง พระสุมนเถระอยู่จำพรรษาที่วัดพระยืนได้สองพรรษา
พญากือนาสร้างวัดสวนดอกถวายพระสุมนเถระ
            พญากือนามีพระราชประสงค์ อยากสร้างวัดที่สวนทรายแม่ข่า แต่เทวดามาทรงนิมิตฝันว่ามีสวนไม้พยอม อุทยานอันสืบมาตั้งแต่พระเจ้าเม็งราย เป็นรมณียสถานที่วิเวกสงบดีหนักหนา  พญากือนากับพระมหาสุมนเถระจึงไปตรวจสวนดอกไม้พยอม และได้พิจารณาแล้วจึงถวายพระพรเมตตาว่า เป็นที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมณะยิ่งนัก ต่อมาพญากือนาซ้ำทรงนิมิตฝันอีกว่าในวัดสวนดอกนั้น ยังมีดอกบัวหลวงดอกหนึ่งใหญ่เท่ากงเกวียน (กงจักร) คลี่บานมีสุคันธรสกลิ่นหอมมากนักแล้วมีดอกบัวล้อมรอบเป็นบริวาร พญากือนาได้นิมิตมงคลนามเช่นนี้ จึงทรงรับสั่งให้เสนาอำมาตย์พร้อมทั้งบริวาร  ไปแผ้วถางอุทยานสวนดอกไม้พยอมให้มีลักษณะเท่าพระเชตวันมหาวิหาร อันมหาอุบาสกนายอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี สร้างถวายเป็นทานแด่พระพุทธเจ้าในพระนครสาวัตถีเป็นอาราม  เขตอารามยาวได้ 331 วา กว้างได้ 311 วา เป็นเขตพุทธาวาสสร้างในปี พ.ศ.1914 (จ.ศ.733) พระราชทานนามวัดว่า “วัดบุปผาราม” และพญากือนาได้ทรงสร้างกุฏิหลังหนึ่ง ถวายเป็นเสนาสนะของพระมหาสุมนเถระในทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกเขตพุทธาวาส และอาราธนาพระหาสุมนเถระผูกพัทธสีมาในทิศตะวันออกเฉียงใต้แห่งสวนดอกบัวหลวง ที่พระองค์ทรงสุบินนิมิตฝัน
สร้างพระเจดีย์และเสนาสนะในวัดสวนดอก
            ครั้นต่อมาพระมหาสุมนะเถระกับพญากือนาเป็นประธานก็พร้อมกันก่อพระมหาชินะ ธาตุ เจดีย์ห่อหุ้มด้วนสุวรรณทองคำคล้ายกลุ่มดอกบัวที่พระองค์ทรงสุบินนิมิตฝัน เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าสถิตไว้ในพระมหาเจดีย์ก่อนที่จะเอา พระบรมธาตุบรรจุนั้น  พญากือนากับพระมหาสุมนเถระ  จึงทรงอาราธนาพระบรมธาตุใส่ในโกศทองคำอันงามประณีตวิจิตรแล้วทรงสรงพระธาตุ เจ้า ขณะเดียวกันนั้นพระธาตุเจ้าก็แสดงปฏิหาริย์ให้สว่างไสวรุ่งเรืองงามยิ่งนัก ปรากฏแก่พญากือนาพร้อมทั้งบริวารทั้งปวง พระบรมธาตุจึงแตกเป็นสององค์ สามองค์ และหลายองค์ลอยวนเหนือผิวน้ำ เต็มโกศทองคำเป็นสีต่าง ๆ มีสีนาก สีทองคำ สีมุก เสด็จลอยวนเหมือนผิว น้ำ พญากือนากับทั้งบริวารทั้งปวงเห็นอัศจรรย์ใจยิ่งนักก็น้อมมัสการสักการะบูชา ในเมื่อพญากือนากับพระมหาสุมนเถระเอาพระธาตุออกจากโกศสรงน้ำมัน จึงพบพระบรมธาตุเพียงสององค์  องค์หนึ่งเล็ก อีกองค์หนึ่งเป็นดั่งปกติมีสี  สันฐานวรรณเสมอกัน พระมหาสุมนะกับพญากือนาจึงอาราธนาพระบรมธาตุ องค์ดั่งปกติเสมอเก่าบรรจุใส่ในโกศแก้วประพาฬอันเก่านั้น แล้วเอาโกศทองคำใส่โกศเงินโกศทองเหลืองลงออกมาใส่โกศดินเป็นลำดับซ้อนกันดุจ ดั่งเมื่อขุดได้ครั้งแรกนั้นแล ส่วนอีกองค์หนึ่งนั้นพญากือนาเก็บรักษาไว้ แล้วก็สถาปนาพระบรมธาตุเจ้าใส่ไว้ในพระมหาเจดีย์ และทรงสร้างเจดีย์บริวารเจ็ดองค์ ซุ้มประตูโขงพระเจดีย์ชั้นในและก่อกำแพงคูหาปราการโขงขั้นนอก พญากือนาได้เอาราชเรือนหลวงของพระองค์มาสร้างมหาวิหารหลังหนึ่งอันประณีต วิจิตรงดงามยิ่ง  พร้อมทั้งหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งด้วยทองสัมฤทธิ์ไว้ในพระวิหารเป็นพระ ประธาน สำเร็จในปี พ.ศ.1916 (จ.ศ.736) แล้วจึงทำการเฉลิมฉลองเป็นงานมหกรรมสมโภชอันโอฬารยิ่งนัก
         พระมหาสุมนเถระก็อยู่บำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติปกครอง วัดบุปผารามเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก พระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์จึงเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ในกาลครั้งนั้นพระภิกษุสามเณรในพิงคนครและบรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ล้านนาไทย มีเชียงตุง สิบสองปันหรือปันนา เชียงแสน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน หริภุญชัยฯ พากันเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะบาลีภาษาเป็นจำนวนมาก แล้วกลับเอาไปเผยแผ่ในภูมิลำเนาบ้านเกิดของตน พระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์เป็นอันประดิษฐานตั้งมั่นเป็นอันดีแล้วในล้าน นาไทยประเทศ

พญากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ
           ครั้งต่อมาในปี พ.ศ.1927 (จ.ศ.748)  วิสาขมาสเพ็ญวันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ 16 ตัว พญากือนาและพระมหาสุมนเถระเป็นประธาน จึงนำพระบรมธาตุที่พญากือนาทรงเก็บไว้เสี่ยง ช้างคชลักษณ์มงคลหัตถี ขึ้นไปประดิษฐานบนยอดดอยสุเทวบรรพต ความพิศดารปรากฏอยู่ในตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร ด้วยเหตุนี้วัดสวนดอกกับวัดพระธาตุดอยสุเทพจึงเป็นวัดพี่น้องกันมาแต่โบราณ กาล จนตราบเท่าทุกวันนี้

พญากือนาสวรรคตพระมหาสุมนเถระมรณภาพ
           พระมหาสุมนรัตนบุปผาสวามี  เป็นพระสังฆราชองค์แรกในพิงคนครสถิตพำนัก ณ วัดบุปผารามสวนดอกสืบมาได้ 18 ปี นับตั้งแต่พญากือนาสวรรคตไปแล้ว
เจ้าแสนเมืองมาเป็นราชบุตร ได้เสวยราชแทน พระเจ้าแสนเมืองมาถึงแก่การสวรรคต พระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้เป็นราชบุตรได้เสวยราชสืบสันติวงศ์แทน พระมหาสุมนรัตนบุปผาสวามี มีอายุขัยมาถึงสามรัชกาลมรณภาพใน พ.ศ.1931 (จ.ศ.750)

ยุคพญาสามฝั่งแกน
         
             วัดบุปผาราม (สวนดอก) นั้นลุถึงปี พ.ศ.1931 (จ.ศ.750) พระมหากษัตริย์สามฝั่งแกนจึงอาราธนาพระมหากุมารกัสสปเถระให้เป็นสังฆนายก ปกครองวัดบุปผารามแทน พระมหากุมารกัสสปองค์ นี้ชอบปฏิบัติอรัญญิกธุดงค์วัตร ท่านพิจารณาเห็นว่าวัดสวนดอกอยู่ใกล้บ้าน ไม่เป็นที่วิเวกสถานอันสงบด้วยเสียงต่าง ๆ ท่านจึงเข้าไปถวายพระพรลาพญาสามฝั่งแกนไปบำเพ็ญสมณธรรมที่เชิงดอยละวะจนหมด ฤดูร้อนและฤดูหนาวแล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดสวนดอกดังเดิม พระมหากุมารกัสสปเถระปกครอง วัดสวนดอกได้ 15 พรรษาก็ถึงกาลมรณภาพ
            ต่อมามีพระมหานันทปัญญาได้เป็นสังฆนายกอธิบดีปกครองแทนพระเถระรูปนี้เป็นผู้ แสดงพระปาฏิโมกข์และทรงปาฏิโมกข์ในวัดสวนดอก ในครั้งนั้นพระมหาอีกรูปหนึ่งชื่อว่า พระมหาสุชาโต อยู่สำนักวัดศรีบุณวัณโต ปัจจุบันคือวัดช่างฆ้อง ท่านได้เดินทางไปศึกษาการพระศาสนาในเมืองพุกาม อังวะพระมหาเถระทั้งสองรูปนี้ชอบพอกันมาก ทำสังฆกรรมร่วมกับพระมหาเถระสุชาโต ท่านได้เป็นสังฆนายกหนในเมืองและได้เป็นประธานอุปสมบทกุลบุตรพระศาสนาแบบ ลัทธิพุกาม ต่อมาภายหลังท่านพระเถระไปเอาเรือนหมื่นฟ้าที่ถวายให้ท่านมาสร้างเป็นกุฏิ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดบุปผารามสวนดอก นอกเขตพุทธาวาส ต่อมาท่านพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถคับแคบ ไม่พอกับการทำสังฆกรรม ท่านพระเถระจึงทำพิธีถอนสีมาและปลูกสีมาใหม่แทน และได้ขยายพระอุโบสถให้กว้างกว่าเดิม ส่วนท่านพระมหานันทปัญญาท่านปกครอง
วัดสวนดอกได้ 15 พรรษาก็ถึงแก่กาลมรณภาพ
              ครั้นต่อมาปี พ.ศ.1944 (จ.ศ.780) พระมหากษัตริย์เจ้าสามฝั่งแกนจึงไปอาราธนาพระมหาพุทธิญาณมาเป็นอธิบดีสงฆ์ ปกครองแทน และในปีนั้นพระมหาพุทธญาณและพระมหาปุณณวังสะซึ่งอยู่วัดพระยืนลำพูน ก็ได้ทำพิธีสมมติสีมา และถอนสีมาใหม่อีกด้วยมูลเหตุวิวาทาธิกรณ์ถกเถียงกันเรื่องคามสีมาและนคร สีมา พระมหาพุทธญาณชอบคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ชาวบ้าน คฤหัสถ์มาพักกับท่านบ่อย ๆ พญาสามฝั่งแกนไม่พอพระทัยจึงไม่ให้ท่านปกครองต่อไป พระมหาพุทธญาณจึงหนีไปอยู่ที่วัดมหาวัน ลำพูน และถึงแก่กาลมรณภาพที่วัดมหาวันนั้นแล พญาสามฝั่งแกนจึงไปอาราธนาพระมหาพุทธคัมภีระ มาจากวัดหมื่นซ้าย (ไม่ทราบว่าอยู่ไหน) มาปกครองแทนพระมหาเถระอยู่จำพรรษาได้ 14 พรรษาก็ถึงกาลมรณภาพ พญาสามฝั่งแกน อุปถัมภ์บำรุงพระมหาเถระได้ถึง 4 รูป คือ พระมหาสุมนรัตนบุปผาสวามี 1 พระมหากุมารกัสสปเถระ 1 พระมหานันทปัญญา 1 พระมหาพุทธคัมภีระ 1 พญาสามฝั่งแกนมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสพระมหาเถระมาก ทรงรักษาศีลและสดับฟังพระธรรมมิได้ขาด ครั้นในปีต่อมาพระสิทธันตะ แห่งวัดบุปผารามพร้อมด้วยศิษย์อีก 3 รูป ได้พากันเดินทางไปจาริกแสวงบุญนมัสการพระทันตะธาตุที่ลังกาประเทศ เมื่อกลับมาถึงนครพิงค์เชียงใหม่ในเดือน 6 เพ็ญ (เดือน 8 เหนือ) วิสาขะ ท่านได้ไปลงอุโบสถสังฆกรรมที่วัดโชติการาม (วัดเจดีย์หลวง) ท่ามกลางนครพิงค์ ท่านได้เล่าในที่ชุมชนสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าไปนมัสการพระบรมธาตุที่ลังกาพักสำนักพระมหาสุรินทเถระ วัดบุผาปารามได้สองพรรษา พระสงฆ์ลังกาถามข้าพเจ้าในเรื่องการปฏิบัติสังฆกรรมต่าง ๆ ในเมืองเรา ข้าพเจ้าก็เล่าให้พระสงฆ์ลังกาฟังอย่างที่พระสงฆ์ในเมืองเราปฏิบัติกัน พระสงฆ์ลังกาพูดว่า  ถ้าปฏิบัติกันอย่างนั้น ไม่เป็นการถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ ข้อนี้แลจึงเป็นเหตุให้พระมหาญาณคัมภีระภิกษุหนุ่มชาวนครพิงค์ผู้ใคร่ต่อการ ศึกษาได้ฟังพระสิทธันตะพูดในที่ประชุมสงฆ์นั้น จึงชักชวนผู้รักษาในพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ มาตั้งเผยแผ่ร่วมกับพระสงฆ์ไทยอีกหลายรูป ณ กรุงศรีอยุธยาแล้วกลับมาเผยแผ่และตั้งคณะสงฆ์แบบลังกาสำนักวัดรัตนมหาวิหาร (วัดป่าแดงหลวง) ลบล้างแบบพระมหาสุมนเถระขึ้นในล้านนาประเทศ พระมหาญาณคัมภีระเมื่อเป็นเด็กมีชื่อว่าสามจิต เป็นบุตรพันตามแสง เสนาบดีของพญาสาม ฝั่งแกน บิดาเอาไปถวายเป็นลูกศิษย์ สมเด็จธรรมกิตติสำนักวัดนันทาราม พระมหาเถระองค์นี้เป็นพระมหาเถระชั้นบูรพาจารย์ชาวนครพิงค์ที่มีบทบาทในพระ ศาสนาของล้านนาไทยที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่ง พญาสามฝั่งแกนครองราชสมบัติ 41 ปี จึงยกราชสมบัติให้แก่ท้าวลก (พระเจ้าติโลกราช) ผู้เป็นราชบุตร

ยุคพญาติโลกราช-พญายอดเชียงราย
        
           ท้าวลก (พญาติโลกราช) ได้สถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์เฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าติโลกราชสิริทรงธรรมจักรวรรดิ์” ในกาลครั้งนั้นพระมหาญาณรังษีไปศึกษาพระศาสนาพุกามอังวะ กลับมาวัดบุปผารามได้ 7 พรรษา ก็มรณภาพ
         ต่อมานั้นพระมหาสังฆติปิฎก ได้เป็นอธิบดีสงฆ์ปกครองแทนอยู่ได้ 6 พรรษา ก็มรณภาพไป ครั้ง พ.ศ.1990 (จ.ศ.808) พระเจ้าติโลกราชทรงอาราธนาพระมหาพุทธาทิจจะจากวัดมหาวันลำพูนมาเป็นอธิบดี สงฆ์แทน เมื่อพระมหาพุทธาทิจจะมาปกครองวัดบุปผารามสวนดอกก็เจริญรุ่งเรือง พระมหาพุทธาทิจจะใคร่ต่อการศึกษามาก แตกฉานในมคธภาษา (ภาษาบาลี) ท่านสอบถามพระสงฆ์ที่ไปเรียนพุกามอังวะว่าสามเณรที่มีอายุใกล้อุปสมบท สมควรเรียนพระปาฏิโมกข์ให้ทรงจำก่อนจะอุปสมบทหรือไม่พระมหาญาณสาครทักท้วง ว่าไม่สมควร พระมหาพุทธาทิจจะค้านว่า สมควรเรียน พระเจ้าติโลกราชก็ทรงเห็นดีด้วย พระสงฆ์ทั้งปวงจึงถือเอาข้างฝ่ายพระมหาพุทธาทิจจะเป็นหลัก แจ้งให้สามเณรผู้อุปสมบทเล่าเรียนทรงจำปาฏิโมกข์ไว้
              พระมหาพุทธาทิจจะอยู่วัดบุปผารามได้ 12 พรรษา อายุได้ 66 ปี ก็มรณภาพ ส่วนพระมหาญาณสาคร องค์ที่มีความเห็นว่า สามเณรไม่ควรเรียนปาฏิโมกข์ก่อนอุปสมบทนั้น ต่อมาพระราชมารดาของพระเจ้าติโลกราชไปยกย่องท่าน พระเจ้าติโลกราชก็ทรงให้รักษาวัดบุปผารามแทน ในปีที่พระมหาพุทธาทิจจะมรณภาพ ต่อมาพระเจ้าติโลกราชก็ได้ทรงมอบวัดบุปผารามให้พระมหาพุทธิญาณอยู่สำนักวัด หมื่นสาร พระมหาพุทธญาณนำเอาพระพุทธรูปศิลาพระพุทธรูปแบบลังกามาด้วย ปัจจุบันอยู่วัดเชียงมั่น พระมหาพุทธญาณรูปนี้เป็นหลานของพระพุทธญาณ (ชื่อซ้ำกัน) องค์ที่หนีไปลำพูน ด้วยเหตุอันพญาสามฝั่งแกนไม่พอพระทัยนั้นแล พระมหาพุทธญาณอยู่วัดบุปผาราม ต่อมาท่านกลับไปมรณภาพ ณ วัดหมื่นสาร ส่วนท่านพระมหาญาณสาครที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการที่ให้สามเณร เรียนปาฏิโมกข์นั้น อยู่วัดบุปผารามได้ 7 พรรษา ท่านไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะชอบวิเวก สถานออกเดินรุกขมูลเลยไปอยู่กุมกามทางทิศตะวันตกลำพูนอายุได้ 67 ปี ก็มรณภาพที่นั้น
              ครั้นลุถึงปี พ.ศ.2018 (จ.ศ.837) พระเจ้าติโลกราชทรงไปอาราธนาพระมหานาคเสน วัดแสนฝาง มาเป็นอธิบดีสงฆ์ปกครองแทน และได้มีสมมติถอนและปลูกสีมาใหม่ขึ้นอีกครั้ง
             ครั้น พ.ศ.2020 (จ.ศ.839) พระเจ้าติโลกราชทรงเป็นราชศรัทธาปฏิสังขรณ์บูรณะห่อหุ้มทองพระมหาเจดีย์วัด บุปผารามขึ้นใหม่ พระมหานาคเสนเถระอยู่วัดบุปผาราม ได้ 4 พรรษา อายุได้ 86 ปีก็
ถึงกาลมรณภาพ และต่อมาพระมหาชิรโพธิ์ก็ถึงกาลมรณภาพอีกองค์
          ครั้นปี พ.ศ.2023 (จ.ศ.842) พระยอดเมือง หรือ พญายอดเชียงรายได้เสวยราชแทนก็ได้ทรงไปอาราธนาพระมหาภูกามญาณสาครจากวัด หมื่นสารมาปกครองแทน พระมหาญาณภูกามสาครอยู่ปกครองวัดสวนดอกได้ 10 พรรษา อายุได้ 76 ปี ก็มรณภาพ

ยุคพระเมืองแก้ว

            ครั้นต่อมา พระเมืองแก้วได้เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แทน ได้ 1 ปี พระเมืองแก้วก็ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมวัดบุปผารามเป็นการใหญ่ ให้รุ่งเรืองงดงามในปี พ.ศ.2033 (จ.ศ.852) พระองค์ทรงอาราธนาพระมหาปุริเทพ หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่า พระมหาศิลเทว หรือพุทธญาโณ เดิมทีท่านอยู่วัดบุปผารามสวนดอกด้านเหนือคณะพระสังฆเถร ท่านเป็นศิษย์พระสังฆเถรท่านได้เดินทางไปศึกษาพระศาสนาที่พุกามอังวะ เมื่อไปเรียนท่านอายุได้ 26 ปี อยู่ศึกษาที่พุกามอังวะได้ 10 พรรษา ท่านได้จดบันทึกตำนานพระบรมธาตุ 28 แห่ง ในนครพิงค์เชียงใหม่จากพระสังฆราชธรรมรังษี แล้วท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบุปผารามได้ 3 พรรษา พระเมืองแก้วทรงทราบจึงไปอาราธนามาเป็นอธิบดีสงฆ์วัดบุปผารามสวนดอก (พระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ปรากฏก็เพราะพระมหาเถระองค์นี้)  พระเมืองแก้วทรงปะสาทะเลื่อมใส ศรัทธาพระมหาเถระเป็นอันมาก ท่านไปเรียนพุกามมา ชนทั้งหลายเรียกว่า พระมหาพุกาม ท่านอยู่วัดสวนดอกได้ 10 พรรษา อายุได้ 50 ปี ท่านมหาเถระมีปกติชอบปฏิบัติธรรมในราวป่ายินดีในที่สงัดท่านพระเถระถวายพระ พรลาพระเมืองแก้ว ไปบำเพ็ญสมณธรรมที่ป่าฟ้าหลั่งจอมทอง ชนทั้งหลายก็เรียกท่านพระเถระป่าฟ้าหลั่ง พระเมืองแก้วจึงอาราธนาพระมหาธรรมโพธิ มาเป็นอธิบดีสงฆ์แทนในปี พ.ศ.2043 (จ.ศ.862) ส่วนในปี พ.ศ.2041 พระมหากษัตริย์เมืองแก้วทรงได้สร้างปราสาทหลังหนึ่ง อันประณีตงดงามไว้ในท่ามกลางพระมหาวิหารวัดบุปผารามสวนดอก ไว้ประดิษฐานพระปฏิมากรทองคำเท่าพระองค์ (สูญหายแล้ว) และพระองค์ได้ทรงสร้างหอมณเฑียรธรรมไว้พระไตรปิฎกและตำราต่าง ๆ (สูญหายแล้ว) ให้ไว้เป็นที่ศึกษามคธภาษา เมื่อสำเร็จแล้วก็มีการฉลองเป็นการมโหฬารใหญ่โตยิ่ง

การหล่อพระเจ้าเก้าตื้อ
            ลุปี พ.ศ.2047 (จ.ศ.866) พระเมืองแก้วได้ทรงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์ใหญ่ ในวันพฤหัสบดี เดือน 3 (เดือน 5 เหนือ) ขึ้น 8 ค่ำได้ฤกษ์ 7 ตัว ชื่อปุณณะพสุดาวพิดานสำเภาทอง ที่หล่อพระพุทธรูปนั้นมีน้ำหนัก 1 ตื้อ คือ หนึ่งโกศตำลึง (ฝีมือช่างเชียงแสนที่ประณีตงดงามที่สุด หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูงแต่ฐานถึงยอดพระโมฬี 4 เมตร 70 เซนต์) มีที่ต่อ 8 แห่ง นับเป็นท่อนได้ 9 ท่อน นับตั้งแต่ลงมือหล่อพระพุทธรูป จนตกแต่งให้เป็นเงางามเรียบร้อยทุกประการ เป็นเวลานานถึง 5 ปี  พ.ศ.2052 (จ.ศ.871) พระเมืองแก้วจึงทรงได้เสด็จราชดำเนินเป็นประธาน พร้อมด้วยหมู่เสนาอำมาตย์ มุขมนตรี เศรษฐีกฎุมพี ไพร่ราษฎ์ทั้งปวงและราชทูตแห่งท้าวพญาสามัญประเทศทั้งปวงทรงอาราธนาพระพุทธ รูปขึ้นสถิตประดิษฐานเหนือรัตนบัลลังก์ ในโรงพระอุโบสถวัดบุปผาราม อันชนทั้งหลายเรียกว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ” นั้นแล พระมหาสังฆเถระราชาชั้นผู้ใหญ่ที่อาราธนานิมนต์มาอบรมสมโภชพระพุทธรูป มีจำนวน 1,000 รูป พระมหากษัตริย์เมืองแก้วทรงจัดการเป็นงานมหกรรมอันมโหฬารยิ่ง ถวายเครื่องไทยทานพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ทั่วทั้ง 1,000 รูป พระมหาเถรสังฆราชาและเสนาอำมาตย์ประชาราษฎ์ทั้งมวลประกาศเฉลิมพระนามพระเจ้า เมืองแก้วว่า “พระเจ้าสิริทรงธรรมจักรพรรดิ์ราช”
        ครั้นต่อมา พ.ศ.2062 (จ.ศ.881) เดือน 8 (เดือน 10) ขึ้น 6 ค่ำ พระเจ้าสิริทรงธรรมได้ทรงปฏิสังขรณ์พระวิหาร และบูรณะตกแต่งหอมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่ถึงปี พ.ศ.2064 (จ.ศ.883) พระเจ้าสิริทรงธรรมทรงให้นาครกาปณิกาธิบดีอำมาตย์ไปอาราธนาเอาพระแก่นจันทน์ แดง อันพญาเสนทิโกศล ทรงสร้างมาจากเมืองพะเยามาไว้ที่วัดชัยศรีภูมิ ต่อมามีราชทูตกรุงศรีอยุธยามานมัสการเสนาพฤฒาอำมาตย์ปรึกษาหารือกันว่า วัดชัยศรีภูมิ บูรณะยังไม่เสร็จจึงอัญเชิญพระแก่นจันทน์แดงมาไว้วัดบุปผารามสวนดอก ให้ราชทูตได้ชมและนมัสการ พระพุทธรูปแก่นจันทน์แดงสถิตอยู่วัดบุปผารามสวนดอกหลายปี ต่ออีกหนึ่งปีพระเจ้าสิริทรงธรรมได้ถวายวัตถุไทยธรรมมีค่า แด่พระมหาเถระองค์อธิบดีสงฆ์วัดบุปผาราม
          ครั้นปี พ.ศ.2069 (จ.ศ.888) พระเจ้าสิริทรงธรรม จึงอัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์แดงจากวัดบุปผารามไปไว้ ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) และพระเจ้าสิริทรงธรรมจึงทรงให้เอาพระพุทธรูปแก่นจันทน์อีกองค์ อันพญาแสนภูทรงสร้างมาจากเชียงแสน ออกจากวัดบุปผารามไปสถิติไว้ที่ในธัมมะเสนาบดี อันสร้างไว้สำหรับพระแก่นจันทน์พิมพ์องค์นี้ในวัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) พระพุทธรูปแก่นจันทน์แดงนี้ตำนานว่า เป็นของโบราณสุวรรณภูมิสืบ ๆ มาปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าอยู่ไหน
          นับตั้งแต่พระเจ้าสิริทรงธรรม ได้สร้างพระพุทธปฏิมากรองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้เหนือบัลลังก์อุโบสถวัดบุปผาราม สวนดอกนั้น กิตติศัพท์อภินิหารก็เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ มีภิกษุสามเณรเจ้าและอุบาสกอุบาสิกา นักบุญทั้งหลายเดินทางมานมัสการมิได้ขาด เหตุว่าพระพุทธรูปเจ้านั้นมีอิทธิปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ด้วยแรงอธิษฐาน และสวยงามมาก พระปฏิมากรพระเจ้าเก้าตื้อ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์อย่างอัศจรรย์ใจ สามารถบันดาลให้ผู้ศรัทธาเลื่อมใสประสบสิ่งอันพึงปรารถนา และสรรพมิ่งมงคล ใครมีความกลัดกลุ้มใจเศร้าหมองขุ่นมัว จิตเร่าร้อนกระวนกระวาย เมื่อได้มานั่งบูชาอธิษฐานตรงหน้าพระพักตร์พระเจ้าเก้าตื้อ เพ่งใจเป็นสมาธิส่งสายตาไปที่พระวรกายและพระพักตร์พระเจ้าเก้าตื้อ ทันใดนั้นเองด้วยฤทธิ์อันลี้ลับประหลาด เสมือนหนึ่งพระเจ้าเก้าตื้อฉายแสงธรรมรังษีเข้าไปขับไล่แปรสภาพจิตใจของผู้ เพ่งพิศดู ขจัดขับไล่สิ่งเศร้าหมองขุ่นมัวความกลัดกลุ้มที่เกาะดวงใจให้หายไปอย่าง ประหลาด กลายเป็นเย็นระรื่นชุ่มชื่นเบิกบานใจอย่างประหลาดอัศจรรย์ เสมือนองค์พระเจ้าเก้าตื้อจะเผยโอษฐ์ยิ้มแย้มราวกับว่าพระองค์จะตรัสพระ ปราศรัยแก่ผู้ เพ่งดู พร้อมกันนั้นเหมือนองค์ท่านลอยเข้าไปประทับอยู่ในเรือนใจของผู้เพ่งดู และจะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจสบายอารมณ์ยิ่งนัก เล่ากันว่ามักจะมีผู้มาอธิษฐานขอบุตรและปรารถนาสิ่งต่าง ๆ ก็ประสบสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลทุกประการ พระปฏิมากรเก้าตื้อสำเร็จด้วยวัตถุเจตนา พิธีกรรมอันบริสุทธิ์สะอาด และด้วยพลังแรงอธิษฐานของผู้มีใจสะอาดสูงทรงคุณธรรม จึงเป็นพระพุทธปฏิมากรอันศักดิ์สิทธิ์และประณีตงดงามเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เคารพสักการะมาแต่โบราณกาล
             มีผู้มานมัสการมิได้ขาดจนสถานที่พักไม่พอ จึงเป็นเหตุให้หมื่นจ่าบ้านพร้อมทั้งนักบุญทั้งหลายสร้างศาลาไว้ที่หน้าพระ อุโบสถ ไว้เป็นที่พักแก่ผู้จาริกมาแสวงบุญทั้งหลาย พระเจ้าสิริทรงธรรมจักรพรรดิ์ราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระอุปถัมภ์วัด บุปผารามเป็นอันมาก พระองค์ได้ถึงแก่กาลสวรรคต เมื่อพระชนมายุได้ 44 พรรษา
             ครั้นต่อมาพระเมืองเกษเกล้า ได้เสวยราชย์สืบสันติวงศ์ และต่อมาท้าวชายคำได้เสวยราชย์แทนอีก พระองค์ก็ทรงอุปถัมภ์บำรุงวัดบุปผารามดังเช่นราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ใน ราชวงศ์เม็งรายทุก ๆ องค์ในตำนานไม่ได้กล่าวไว้ ครั้นต่อมาเจ้าฟ้าเมืองนายได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าเม กุฏิวิสุทธิวงศ์ ก็ทรงได้อุปถัมภ์บำรุงดังปรากฏในตำนานว่าในปี พ.ศ.2105 (จ.ศ.924) เดือน 4 (เดือน 6 เหนือ) วันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ พระเจ้าเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ พร้อมด้วยพระราชมารดาและบริวารได้เสด็จไปทำอุปสมบทภิกษุทั้งหลายร้อยรูป ณ พระอุโบสถวัดบุปผาราม มีพระมหาสังฆนายกบุปผารามธิบดีเป็นประธาน คณะหนอรัญญวาสีมีพระมหาป่าพริก 1 พระมหาป่าหนองทา 1 พระมหาป่าฟ้าหลั่ง 1 พระเจ้าเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ ครองเมืองได้ 7 ปี ก็เสียเอกราชให้แก่พม่า ราชวงศ์เม็งรายก็เป็นอันสูญสิ้น อาณาจักรล้านนาไทยที่เคยรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรม ศิลปกรรม สมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร รุ่งเรืองไปด้วยวัดวาอารามก็ถึงกาลชำรุดทรุดโทรมเกิดระส่ำระสายไม่เป็นปกติ
alt

วัดสวนดอกยุคเสื่อม
ยุคพม่าปกครอง
               ครั้นถึงปี พ.ศ.2110  (จ.ศ.929)  เจ้าฟ้ามังทราก็มอบอาญาให้เสนามาถวายคืน ศาสนสมบัติปูชนียสถานต่าง ๆ อันท้าวพญามหากษัตริย์เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ได้สร้างถวายไว้เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนาต่าง ๆ มีพระบรมธาตุเจ้าวัดบุปผารามเป็นต้น ลุปี พ.ศ.2181 (จ.ศ.1000) สโดธรรมราชา คือ พระเจ้าสุทโธธรรมราชาก็ได้เสด็จไปเมืองอังวะ บังเกิดราชศรัทธาจึงสั่งให้เสนาอำมาตย์นำเครื่องราชสักการะไทยทานเป็นอันมาก มาถวายพระบาทพระธาตุ และยกกุลบุตรบวชเป็นพระภิกษุภาวะ จำนวน 1,000 รูป ณ วัดบุปผารามและวัดรัตตมหาวิหาร (ป่าแดงหลวง) ต่อมาในปี พ.ศ.2187 (จ.ศ.1006) เดือน 5 (เดือน 7 เหนือ) ขึ้น 13 ค่ำ พระเจ้าสุทโธธรรมราชาผู้มีอำนาจในล้าน นาไทย จักพระราชทานเครื่องยศและสมณศักดิ์แก่พญาแสนหลวง พญาสามล้าน พญาเชียงแสน และพญาผู้ครองหัวเมืองทั้งหลายในล้านนาไทยประเทศ และพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระมหาสังฆราชาทั้งหลาย ตามจารีตโบราณราชประเพณีของนครพิงค์เชียงใหม่มาตั้งแต่ราชวงศ์เม็งรายจึงให้ เสนาบดีไปสอบถามพระมหาเถระผู้มีอายุพรรษาสูง และนักปราชญ์ผู้รู้ชำนาญราชประเพณี
           ตั้งแต่รัชสมัยพระมหาเทวีเสนาบดีจึงไปนมัสการสมเด็จราชครูวัดบุปผารามสวนดอก ชื่อว่า พระสัง ฆาทีปะเถระ ผู้มีอายุพรรษาได้ 80 ปี เป็นประธานแก่สงฆ์ทั้งปวงและนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่แสนวังสวนดอก อายุได้ 85 ปี พระสังฆเถระและนักปราชญ์ราชบัณฑิตก็แจ้งให้เสนาบดีพระเจ้าสุทโธทราบทุกประการ
          ครั้งต่อมาในปี พ.ศ.2321 (จ.ศ.1140) นครพิงค์เชียงใหม่ได้กู้อิสระภาพจากพม่า จึงยกหัว หน้าเทพสิงห์ขึ้นเป็นเจ้าปกครองนครพิงค์เจ้าเทพสิงห์ได้มีคำสั่งให้กำจัดพวก พม่าที่ตกค้างนั้นเสีย พวกพม่าเหล่านั้นรู้ตัวจึงไปชักชวนพม่ารามัญด้วยกันที่อยู่ในเชียงใหม่ได้ จำนวน 300 คน แล้วไปชวนเจ้าองค์นกหรือเจ้าองค์คำ อันเป็นเชื้อเจ้าลาวหลวงพระบางซึ่งมาบวชเป็นพระศึกษาเล่าเรียนอยู่วัด บุปผาราม ให้สึกออกมาเป็นหัวหน้าสู้รบกับเทพสิงห์เมื่อชนะแล้ว ได้ถูกยกขึ้นเป็นเจ้าปกครองนครเชียงใหม่ เจ้าองค์นกครองเมืองได้ 31 ปี ก็เสียเมืองให้แก่พม่าอีก
            การพระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมลง วัดวาอารามชำรุดทรุดโทรมขาดการทำนุบำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์ ขาดการเอาใจใส่โบราณวัตถุสถานต่าง ๆ วัฒนธรรม ศีลธรรม จารีตประเพณีก็ได้เสื่อมลงอย่างหนัก เพราะบ้านเมืองเกิดระส่ำระสายอยู่ตลอดเวลา วัดบุปผารามซึ่งเคยเป็นแหล่งเผยแผ่วัฒนธรรม ศีลธรรม จารีตประเพณี เคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา มีพระมหาเถระชั้นนักปราชญ์ทรงภูมิคุณธรรมสถิตพำนัก และเคยเป็นที่ทรงไว้ซึ่งศิลปกรรมของอาณาจักรล้านนาไทย ก็ทรุดโทรมเสื่อมไปตามสภาพหลักอนิจจังขาดการอุปถัมภ์บำรุง ชาวนครพิงค์ก็อพยพหลบลี้หนีภัยอันตรายไปคนละทิศละทาง เมืองนครพิงค์เกือบจะเป็นเมืองร้างไป

ยุคพระเจ้ากาวิละสุริวงศ์
             ครั้นลุปี พ.ศ.2357 (จ.ศ.1176) เดือน 5 (เดือน 7 เหนือ) แรม 10 ค่ำ วันอาทิตย์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กาวิละสุริวงศ์ ได้ตั้งราชพิธีมหามงคลสมัยสมณศักดิ์มหาสังฆราชาเถระภิเศก แต่งตั้งยกย่องพระมหาวชิระปัญญา (มหาป่าอรัญญวาสี) วัดบุปผารามสวนดอกขึ้นเป็นที่ “ครูบาพระมหาราชคุรุมหาเถระ” ตำแหน่งสูงสุดประมุขสงฆ์ครั้งแรกประจำนครเชียงใหม่ สมัยเจ้าผู้ครองนคร สถิตสำนักวัดบุปผาราม  ต่อมาได้อีก 15 วัน ถึงเดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ขึ้น 10 ค่ำ ตั้งพิธียกสาธุเจ้าวัดศรีเกิดเป็นที่ “สมเด็จสังฆราชาเถระ” สาธุเจ้าคัมภีระวัดพันเตาเป็นที่ “สวามีสังฆราชา” ตั้งราชพิธีมหามงคลสมัยอภิเษกที่วัดพระสิงห์หลวงทั้งสามพระองค์ ครูบาพระมหาราชครู พระเจ้ากาวิละเคารพสักการะเป็นอันมาก ทรงถือเป็นคู่บุญบารมีและมีส่วนช่วยเหลือสร้างเมืองใหม่ด้วย
            ต่อมาเจ้าหลวงสุภัทรา (มีชื่ออีกอย่างหนึ่ง คือ คำฝั้น หรือเจ้าหลวงเศรษฐี) เมื่อเป็นอุปราชนั้นได้พร้อมด้วยเจ้าลูกเจ้าหลานได้บูรณะปฏิสังขรณ์หอ มณเฑียรที่เก็บพระไตรปิฎก ได้ฉลองเป็นการมหกรรมอันใหญ่ยิ่ง พระมหาราชครูอยู่วัดบุปผารามต่อมาจนถึงวันอาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือน 7 (เดือน 9 เหนือ) พ.ศ.2368 (จ.ศ.1187) พระเจ้าหอคำนครลำปาง และเจ้าหลวงลำพูนเป็นประธานพร้อมด้วยเจ้าลูกเจ้าหลาน นำเอาเจ้าหลวงคำฝั้นสุภัทราไปอุปสมบทที่วัดเชียงมั่น พระคณะปรกได้ 21 รูป ครั้นวันศุกร์พระภิกษุบวชใหม่ก็เข้าไปหาพระอุปัชฌายะ พระมหาราชครูเถระวัดบุปผาราม เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็กระทำตามราชประเพณี ตั้งขบวนแห่งอธิษฐานราชรถขอนำไปสู่เจ้าผู้มีบุญ ญาบารมี ราชรถก็มุ่งหน้าพร้อมด้วยขบวนบริวารแห่แหนติดตามไปเป็นอันมาก ไปทางทิศตะวันตก ออกจากตัวนครพิงค์สู่วัดบุปผารามสำนักพระมหาราชครูวชิระปัญญามหาเถระ แล้วเสนาอำมาตย์บริวารทั้งหลายก็ทำตามราชประเพณี อัญเชิญพระภิกษุสุภัทราคำฝั้นลาสมณเพศปลงสิกขา ต่อมาพระมหาราชครูวชิระปัญญาถูกอัญเชิญขึ้นประทับเหนือราชรถที่ตกแต่งไว้ แล้วแห่ขบวนมาทางแจ้งหัวลินเลี้ยวเข้าประตูช้างเผือก อัญเชิญขึ้นราชนิเวศน์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครพิงค์เชียงใหม่วัน นั้นแล
         ครั้งต่อมาใน พ.ศ.2369 เดือน 6 เพ็ญ เดือน 8 เป็งเหนือ วันอาทิตย์ เจ้าพุทธวงศ์หอหน้าและเจ้าราชวงศ์คำมูล พร้อมด้วยเจ้านายบุญหลานทุก ๆ คน ได้เป็นศรัทธายกยอดฉัตรขึ้นใส่พระเจดีย์วัดบุปผารามสวนดอกนั้นแล ครั้งอยู่ต่อมาในปี พ.ศ.2375 เดือนอ้าย (เกี๋ยงเหนือ) ขึ้น 5 ค่ำ วันอังคาร พระมหาราชครูวชิระปัญญามหาเถระอรัญญวาสี บุตรชาวบ้านหนองควาย อันสถิตอยู่วัดบุปผารามด้านใต้ มีผู้คนเคารพสักการะไปมาหาสู่เป็นอันมากเป็นที่รบกวนความสงบสงัด เลยปลีกหลีกเร้นไปบำเพ็ญสมณธรรมที่วิเวกสงัดด้วยอำนาจเมตตาธรรมของท่านก็มี ผู้คน และภิกษุสามเณรจากที่ต่าง ๆ ไปศึกษาปฏิบัติธรรม ต่อมาจึงได้กลายเป็นอารามขึ้นเลยเรียกกันว่าวัดสวนดอกน้อย (ปัจจุบันนี้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดสวนดอก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดสวนดอก) พระมหาราชครูวชิระปัญญาเถระได้อาพาธหนักตั้งแต่เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ วันอังคาร ตราบจนถึงเดือนยี่เพ็ญ เวลาบ่าย 2 โมงกับ 5 บาตร พระมหาราชครูเถระก็ได้ถึงแก่มรณภาพ ณ วัดสวนดอกน้อยนั้น สิริรวมอายุได้ 84 ปี
            ต่อมาวัดบุปผารามก็ได้ทรุดโทรม ขาดผู้อุปถัมภ์ขาดพระสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรม ขาดการเอาใจใส่ก็กลายเป็นป่ารกดกหนาต้นหญ้าขึ้นปกคลุมพระบรมธาตุ พระวิหารก็ชำรุดเสียหาย แต่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีกุฏิเก่า สาธุเจ้าอุปาละเฝ้ารักษาอุโบสถพระเจ้าเก้าตื้อ ต่อมาพ่อเจ้าอินทวิ ชยานนท์เจ้าผู้ครองนครได้ทรงรื้อที่ประทับของพระเจ้าสุภัทราคำฝั้น ซึ่งเป็นพระอัยกาของท่าน มาบูรณะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วิหารวัดบุปผารามสวนดอก ครั้นต่อมาวัดบุปผารามก็ขาดการอุปถัมภ์พระเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่การพิรา สัย

พระราชชายาเจ้าดารารัศมีสร้างกู่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนคร
              ต่อมาในปี พ.ศ.2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า (กู่) อนุสาวรีย์เจ้าผู้ครองนครและพระญาติพระวงศ์ทั้งหลายตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่ น้ำปิง ทางทิศตะวันตก (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) ยังไม่เหมาะสม จึงย้ายมาตั้งไว้ที่วัดบุปผารามจนตราบทุกวันนี้ (ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง,  เพ็ชร์ล้านนา (1), พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ : ผู้จัดการภาคเหนือ, 2538), หน้า 4.)  ครั้นต่อมาวัดสวน ดอกได้ร่วงโรยทรุดโทรมลงอีกครั้ง เพราะขาดเจ้าอาวาส และพระภิกษุสงฆ์สืบต่อทองที่ห่อหุ้มองค์พระเจดีย์ และยอดฉัตรพระเจดีย์ได้หักพังลงเสียหายหมด พร้อมทั้งวิหารก็ถูกพายุพัดโย้เย้ปรักหักพัง ซุ้มประตูอันสวยงามวิจิตรศิลป์ กำแพงก็ชำรุดทรุดโทรมวัดบุปผาราม ซึ่งเคยเป็นที่สำคัญ ก็กลายสภาพเป็นป่าหญ้าขึ้นปกคลุมรกชัฏ เหลือแต่พระผู้เฒ่าสาธุเจ้าจันทร์แก้วเฝ้ารักษา

วัดสวนดอกยุคฟื้นฟู
           ยุคครูบาศรีวิชัยบูรณะปฏิสังขรณ์
         ลุสมัยเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายกับพระราชชายาดารารัศมีได้ทรง ทราบข่าวการปฏิบัติเคร่งครัดศีลาธิคุณของครูบาศรีวิชัยเจ้าบุตรนายควาย แม่นางอุษา ชาวบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นผู้มีบุญฤทธิ์ มีผู้นิยมศรัทธาปสาทะเลื่อมใสเป็นอันมาก จึงได้ไปอาราธนานิมนต์มาเป็นประธาน ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระวิหาร พระเจดีย์ ซุ้มประตูกำแพง ตามราชศรัทธาของเจ้าพ่อแก้วนวรัฐ และพระราชชายาดารารัศมี ตลอดศรัทธาพุทธบริษัททั้งหลาย ครูบาศรีวิชัยจึงได้รับอาราธนานิมนต์มาเป็นประธาน
           ครั้นถึงวันพฤหัสบดีแรม 10 ค่ำ เดือน 8 (เดือน 10 เหนือ) พ.ศ.2474 (จ.ศ.1293) ได้ฤกษ์ปุณณดิถีจึงได้เริ่มลงมือขุดรากฐานวิหารวัดสวนดอกยาว 33 วา กว้าง 12 วา กับ 2 ศอก จำนวนเสา 56 ต้น และได้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์บูรณะกำแพงซุ้มประตูพร้อมกันไปด้วย ด้วยเดชอำนาจบุญญาบารมีของครูบาศรีวิชัยเจ้า ผู้ยิ่งด้วย ทาน ศีล เมตตา สัจจะ อธิษฐานบารมีก็เลื่องลือไปทุกทิศทาง จน มีศรัทธานักบุญทั้งหลายมาชื่นชมยินดีช่วยสละทรัพย์ตามศรัทธา ผู้ที่ไม่มีทรัพย์ก็เอาแรงช่วยด้วยจิตอันเลื่อมใสหลั่งไหลมาจากสารทิศต่าง ๆ บางคนก็บริจาคทองคำช่วยทำยอดฉัตรเจดีย์ 9 ชั้น
              วันหนึ่ง ๆ มีผู้มาชื่นชมอนุโมทนาสาธุการ 6-7 พันคน การบูรณะวัดสวนดอกครั้งนี้นับว่าเป็นการใหญ่โตเหลือวิสัยที่จะมีผู้ทำได้ ครั้งหนึ่งชรอยท่านครูบาศรีวิชัยคงมีบุญวาสนาแต่บุพพาชาติ
ปาง ก่อน จึงได้ทำการปฏิสังขรณ์สำเร็จปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนัก ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังได้หล่อพระพุทธรูปเท่าองค์ครูบาด้วยทองเหลืองสององค์ ยืนสถิตบนแท่นแก้ว (บนฐานชุกชี) ในพระวิหาร รวมทุนทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ทั้งหมดสิ้นจำนวน 65,406 รูปี (รูปี หรือ แถบ เป็นเงินอินเดียโบราณในสมัยอังกฤษปกครอง นำมาใช้ในเมืองเหนือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในการทำบุญสำคัญ ๆ ชาวบ้านมักจะเอาออกมาถวายพระเพราะถือว่าได้บุญมากกว่าทำบุญด้วยเงินกระดาษ)  ใช้เวลา 8 เดือน จึงเสร็จบริบูรณ์แล้วก็จัดการปรับแต่งบริเวณลานวัดให้สะอาด เป็นรมณียสถานร่มรื่น ครูบาศรีวิชัย พร้อมด้วย นักศีลนักบุญทั้งหลายก็ฉลองอบรมสมโภช เป็นการมหกรรม มโหฬารใหญ่ยิ่ง
               ต่อมาท่านครูบาศรีวิชัย จึงให้พระลูกศิษย์อยู่รักษาการเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น วัดสวนดอกอยู่ย่านสนามบินเขตทหาร ไม่ปลอดภัยผู้เฝ้ารักษาการจึงหลบภัยหนีไปอยู่เสียที่อื่นผู้ร้ายจึงขึ้นไป ขโมยเอายอดฉัตรพระเจดีย์ไป

ยุคหลวงปู่คำแสน (พระครูสุคันธศีล)
        ลุปี พ.ศ.2489 ทางคณะสงฆ์และศรัทธานักบุญทั้งหลาย ได้อาราธนานิมนต์ท่านพระครูสุคันธศีล (คำแสน  อินฺทจกฺโก) สำนักวัดป่าพร้าวในเจ้าคณะอำเภอสะเมิงมาเป็นเจ้าอาวาสปกครอง ท่านพระครูสุคันธศีล กับปะขาวปี๋ก็ได้ทำยอดพระเจดีย์พลางขึ้นใส่แทน พระครูสุคันธศีลก็ได้เอาใจใส่เป็นอย่างดี นอกจากนี้ท่านพระครูได้เป็นประธาน ก่อกำแพงแก้วล้อมรอบพระเจดีย์และยังมีคหบดี คุณทิม  โชตนา  นายช่างเขตการทางพิเศษภาคเหนือและเจ้าวัฒนาภริยา พร้อมด้วยญาติได้สร้างและบูรณะเจดีย์บริวารอีกสององค์ และได้มีจิตศรัทธาสร้างกุฏิโชตนา 1 หลัง อุทิศกุศลผลบุญให้บิดามารดา เพื่อเป็นเสนาสนะให้พระครูสุคันธศีลพำนัก ต่อมาในปี พ.ศ.2500 เจ้าหญิงทิพยวรรณ  ณ เชียงตุง ได้มีศรัทธาปสาทะสร้างศาลาถวายทาน ไว้ทางด้านทิศใต้วิหารหลวง อุทิศส่วนบุญให้เจ้าฟ้าพรมลือ ณ เชียงตุง สวามีที่ถึงกาลพิราลัย ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ทำบัญชีวัดต่าง ๆ วัดบุปผารามก็ถูกเรียกชื่อเป็น วัดสวนดอก ตามสามัญนิยม
          ครั้นในปี พ.ศ.2501 นายสงวน  สิริสว่าง ผู้แทนราษฎรประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอโครงการขอเงินงบประมาณมาบูรณะอุโบสถพระเจ้าเก้าตื้อ ต่อมาอีกปีทางรัฐบาลชุด ฯพณฯ จอม พล ป.  พิบูลสงครามก็อนุมัติให้เงินจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)  และยังมีศรัทธาสาธุชนร่วมบริจาคอีกจำนวนหนึ่ง พระคุณเจ้า ท่านเจ้าคุณธรรมราชานุวัตร (ฟู  อตฺตชีโว)  เป็นประธานการก่อสร้าง เจ้าคุณมงคลราชมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าคุณโพธิรังษี เป็นกรรมการ พระครูสุคันธศีล เป็นผู้อำนวยการสร้าง ประกอบด้วยคฤหัสถ์ เป็นกรรมการประกอบด้วย นาย สุวรรณ  กฤตธรรม ปลัดจังหวัด นายทิม  โชตนา  นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ และกรรมการวัดสวนดอก ได้ซ่อมแซมทำยอดพระเจดีย์ด้วย  การสร้างอุโบสถและบูรณะพระเจดีย์ สิ้นทุนทรัพย์จำนวน 262,513.75 บาท (สองแสนหกหมื่นสองพันห้าร้อยสิบสามบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) และส่วนบูรณะพระเจดีย์เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ครั้นถึงปีมะโรง เดือน 4 (เดือน 6 เหนือ) ขึ้น 11 ค่ำ วันเสาร์ ฤกษ์ได้ 5 ตัว ชื่อเทศาตรี พุทธศักราช 2508 จึงได้ทำพิธียกยอด ฉัตรพระเจดีย์ โดยมี ฯพณฯ พลเอกประภาศ  จารุเสถียร  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี พระเดชพระคุณเจ้าคุณ
        พระธรรมราชานุวัตรเป็นประธานจัดงาน พระครูสุคันธศีล  เจ้าอาวาสเป็นรองประธาน นายทิน  โชตนา  นายกเทศมนตรี และกรรมการวัดสวนดอกร่วมกันจัดงานฉลองมี 5 วัน 5 คืน หัววัดที่อาราธนานิมนต์มาร่วมทำบุญมีจำนวน 250 วัด เป็นการอบรมสมโภชที่มโหฬารยิ่ง วัดสวนดอกกลับมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่ง
พระครูสุคันธศีล ได้ปกครองวัดสวนดอก ปกครองพระภิกษุสามเณรด้วยหลักพรหมวิหารธรรม กอปรกับท่านพระครูเป็นพระวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มีชื่อเสียง ได้พัฒนาปรับปรุงเสนาสนะ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ให้เป็นที่รื่นรมย์ ทำให้พุทธศาสนิกชนเคารพเลื่อมใสศรัทธา มานมัสการและทำบุญไม่เว้นแต่ละวัน
        พระครูสุคันธศีล (หลวงปู่คำแสน  อินฺทจกฺโก)  ได้มรณภาพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2519 หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพของท่านได้เสร็จสิ้นลง เมื่อ พ.ศ.2522 วัดสวนดอกได้ว่างจาก
        เจ้าอาวาสระยะหนึ่งผู้รักษาการก็ขาดความสามารถในการปกครอง ทำให้วัดสวนดอกอยู่ในภาวะวิกฤติ เกิดความไม่สงบขึ้น

ยุคพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์
         พ.ศ.2526 พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ  ญาณวุฑฺฒิ)  ได้รับคำสั่งจากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ เดิมเป็นเจ้าอาวาสวัดพันอ้นและเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนดอก เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2526 ท่านพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ ได้วางกติกากฎระเบียบการปกครองของวัด ได้พัฒนาปรับปรุงและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสวนดอกให้เป็นอุทยานดอกไม้และยุทยา นการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม จึงถือเป็นยุคการฟื้นฟูทางการศึกษาอย่างแท้จริงและได้สร้างเสนาสนะดังนี้
         1. สร้างกุฏิวิปัสสนาขึ้น 5 หลัง
         2. สร้างศาลาศรีปริยัตยานุรักษ์ กว้าง 9 เมตร ยาว 32 เมตร
       3. เจาะบ่อบาดาลลึก 35 เมตร และสร้างประปา สิ้นทุนทรัพย์ 150,000 บาท
      4. วางรากฐานการก่อสร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อาคาร 1

ด้านส่งเสริมการศึกษา
         1. เปิดสำนักเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี เมื่อ พ.ศ.2527
     2. ร่วมกับคณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสงฆ์เปิดวิทยาลัยสงฆ์ล้านนาขึ้นในเดือนมิถุนายน 2527 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2528 ได้เปลี่ยนฐานะเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่)
       3. เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ.2528 พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ มรณภาพเมื่อ 9 เมษายน 2531 รวมศิริอายุได้  72  ปี

วัดสวนดอกยุคปัจจุบัน
           หลังจากพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ได้มรณภาพลง พระมหาวรรณ  เขมจารี  ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้า อาวาส และต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูธรรมเสนานุวัตร ปี พ.ศ.2543 ได้รับการพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมรเวที (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน)  ได้รับช่วงการบริหารและปกครองวัดสืบมา เดิมพระมหาวรรณ  เขมจารี ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ ได้มีหนังสือถึงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสามพระยา ขอตัวมาช่วยงานด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปภัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ และการศึกษาพระปริยัติธรรมสำนักวัดสวนดอก เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2530 ท่านได้ช่วยพัฒนาการศึกษา ภายในวัดสวนดอกทุกด้าน จนเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป พ.ศ.2532 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนดอกได้นำพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชน คณะศรัทธาวัดสวนดอก พัฒนาวัดในทุก ๆ ด้าน เช่น ความสะอาดร่มรื่น บูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานโบราณวัตถุ สร้างเสนาสนะ ดังนี้
           1. สร้างถนนลาดยางกว้าง 2.5 เมตร ยาว 1,500 เมตร โดยได้รับงบการพัฒนาสถานที่ ท่องเที่ยวจาก องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 260,000 บาท พ.ศ.2532
          2. สร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะอาคารทรงไทย ชั้นเดียว กว้าง 7 เมตร ยาว 27 เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง 500,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2532
         3. สร้างอาคารโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา ชั้นเดียว กว้าง 7 เมตร ยาว 30 เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง 200,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2533
        4. สร้างสิงห์ ตรงประตูเข้าวัด ด้านทิศเหนือและตะวันออก รวม 4 ตัว สิ้นค่าก่อสร้าง 32,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2532
        5. สร้างกุฏิสงฆ์ รวมทั้งหมด 3 หลัง เมื่อ พ.ศ.2533
       6. สร้างสำนักงานโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และห้องสมุด เมื่อ พ.ศ.2533
        7. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำสวนหย่อมถวายบริเวณหน้าวัด สิ้นทุนทรัพย์ 300,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2534
    8. สร้างอาคารเรียนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร สิ้นทุนทรัพย์ 12,000,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2536
       9. สร้างอาคารเรียนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ วิทยาเขตเชียงใหม่(อาคาร มจร.2 ช้อย  นันทาภิวัฒน์) ขนาด 4 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 40 เมตร สิ้นทุนทรัพย์ 6,500,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2538
       10. สร้างอาคารเอนกประสงฆ์ สมโภชนครเชียงใหม่ 700 ปี ขนาด 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร สิ้นทุนทรัพย์ 2,500,000 บาท เมื่อ พ.ศ.2538
       11. สร้างอาคารสำนักวิทยบริการ (ธีระศักดิ์  ไพโรจน์สถาพร)  ลักษณะของอาคารเป็นกลุ่ม 3 หลัง สิ้นทุนทรัพย์ 13 ล้านบาท เมื่อ พ.ศ.2540

วัดสวนดอกเป็นพระอารามหลวง
              วัดสวนดอกได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาประชาชน จึงเห็นสมควรรายงานขอยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2532 และได้รับการพิจารณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดสวนดอก เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2533
alt

ประวัติศาสตร์  ปริวรรตพระไตรปิฎกฉบับอักษรล้านนา
               
             ครั้นลุปี พ.ศ.2536 คณะสงฆ์จังหวัดโดยพระธรรมสิทธาจารย์ (หนู  ถาวโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ประธานฝ่ายสงฆ์ และนายพลากร  สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานฝ่ายบ้านเมือง พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์ และดำเนินการปริวรรตพระไตรปิฎกอักษรล้านนา โดยมีพระสุพรหมยานเถร (ทอง  สุมงคโล) ปัจจุบันพระราชพรหมาจารย์เป็นผู้อำนวยการ  พระครูธรรมเสนานุวัตร (พระอมรเวที) เป็นรองผู้อำนวยการ ได้รวบรวมนักปราชญ์ราชบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาร่วมดำเนินการ

            การปริวรรตพระไตรปิฎกฉบับอักษรล้านนามีวัตถุประสงค์ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ครองราชยสมบัติ ครบ 50 ปี ซึ่งเป็นปีกาญจนาภิเษก เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์และในโอกาสเดียวกันนี้ เป็นปีที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ได้ร่วมกันสมโภช 700 ปีของเมืองเชียงใหม่ และเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้พระสัทธรรมดำรงตั้งมั่นยั่งยืนเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาคู่บ้าน คู่เมืองของชาวล้านนา
        การปริวรรตพระไตรปิฎกฉบับอักษรล้านนาใช้เวลาดำเนินการเป็นระยะเวลา 4 ปี มาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2540 และเมื่อสำเร็จบริบูรณ์ พระสุพรหมยานเถร ในนามของคณะสงฆ์จังหวัดและข้า ราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยคณะ เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร แทนพระองค์ ทูลเกล้าถวายพระไตรปิฎกฯ เพื่อทรงอธิฐานจิตเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 เวลา 16.30 น. ณ พระตำหนักนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ทรงพระราชทานพระไตรปิฎกฯ ให้พระสุพรหมยานเถรอัญเชิญกลับจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้โอกาสคณะสงฆ์และข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ได้ฉลองสมโภช งานฉลองสมโภชพระไตรปิฎกฉบับอักษรล้านนา 
          คณะสงฆ์และข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประชุมปรึกษาหารือกันโดยมีพระธรรมสิทธาจารย์ (หนู  ถาวโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  และมีนายพลากร  สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  เป็นประธานฝ่ายบ้านเมือง ได้กำหนดงานฉลองขึ้น โดยใช้เวลา 7 วัน 7 คืน เริ่มตั้งแต่วันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540  ณ พระวิหารหลวง
 alt
         กำหนดการฉลองสมโภชดังกล่าว ได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายพระสงฆ์ และขอพระราชทานอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธาน และพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร แทนพระองค์ มีพระสงฆ์ร่วมงานสมโภชทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 700 รูป ต่างประเทศประกอบด้วยประเทศพม่า-ลาว-ศรีลังกา-อินเดีย-กัมพูชา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมารได้พระราชทานพระไตรปิฎกฯ แก่พระสงฆ์ประกอบไปด้วย เจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบนตลอดถึงพระสงฆ์ชาวต่างประเทศและ พระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้อุปถัมภ์และดำเนินการ
alt
altalt

บทสรุป
           วัดบุปผารามสวนดอกไม้พยอม สถาปนาขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เพื่อพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์หรือรามัญวงศ์ ระหว่าง พ.ศ.1912-1930 เป็นต้นมานั้น วัดนี้ได้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและการปฏิบัติเป็นที่สถิตของพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ของล้านนาไทย ระหว่าง พ.ศ.2100-2300 ต่อมาวัดได้ทรุดโทรมลง เพราะการล่มสลายของอาณาจักรล้านนา ทำให้อับเฉาไประยะหนึ่ง แต่เมื่อได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในระหว่าง พ.ศ.2474-2476 ก็ทำให้วัดนี้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาในล้านนาไทยดังเดิม ปัจจุบันนี้ แม้จะได้รับการสถาปนายกเป็นพระอารามหลวงแล้วก็ตาม วัดสวนดอกยังต้องมีการอุปถัมภ์บำรุงอีกมาก  เพื่อพัฒนาการให้เจริญรุ่งเรืองเยี่ยงอดีตกาล วัดสวนดอกเป็นปูชนียสถานที่เคารพสักการะแห่งหนึ่งในนครพิงค์เชียงใหม่ มีผู้มานมัสการและชมความงามศิลปกรรมของล้านนาไทย ทั้งจากที่ใกล้และไกล ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระมหากษัตริย์เจ้าองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์พระประมุขของปวงชนชาวไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดถึงพระราชอาคันตุกะก็ยังเสด็จทอดพระเนตรเยือนนมัสการ